![]() |
การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยในกลุ่มผู้ดูแลสัตว์ตระกูลอูฐและสัตว์ชนิดอื่นๆ ในสวนสัตว์ประเทศไทย พ.ศ. 2557 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย |
Title | การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยในกลุ่มผู้ดูแลสัตว์ตระกูลอูฐและสัตว์ชนิดอื่นๆ ในสวนสัตว์ประเทศไทย พ.ศ. 2557 |
Contributor | พรรณราย สมิตสุวรรณ, อาทิชา วงศ์คำมา |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 190-199 |
Keyword | พฤติกรรมเสี่ยง, การเจ็บป่วย, ผู้ดูแลสัตว์ในสวนสัตว์, สวนสัตว์ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | ปี พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน มีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 [Middle East Respiratory Syndrome (MERS)] ในหลายประเทศทั่วโลก ผลการสำรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ MERS ในอูฐทางประเทศแถบคาบสมุทรอาระเบียน สอดคล้องกับพื้นที่ที่มีการระบาดในคน ประเทศไทยมีการเลี้ยงอูฐในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในสวนสัตว์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในกลุ่มผู้ดูแลสัตว์ตระกูลอูฐ และสัตว์ชนิดอื่นๆ ในสวนสัตว์ โดยทำการศึกษาแบบภาคตัดขวางในสวนสัตว์ 7 แห่ง ปี พ.ศ. 2557 จำแนกกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลสัตว์ตระกูลอูฐทุกรายและกลุ่มผู้ดูแลสัตว์ชนิดอื่นๆ ทำการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลเกี่ยวกับประวัติการสัมผัสสัตว์ ประวัติการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเอง และประวัติการเจ็บป่วยในอดีต นำข้อมูลมาวิเคราะห์ถดถอยเอกนาม และวิเคราะห์ถดถอยพหุนาม หาความสัมพันธ์ระหว่างการเจ็บป่วย และพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มผู้ดูแลสัตว์ จากการศึกษากลุ่มผู้ดูแลสัตว์ตระกูลอูฐ จำนวน 25 ราย และกลุ่มผู้ดูแลสัตว์ชนิดอื่นจำนวน 25 ราย รวม 50 ราย พบว่า มีการสวมรองเท้าบูทเป็นประจำขณะปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ 59.50 ของจำนวนผู้ดูแลสัตว์ทั้งหมด ขณะที่การสวมหน้ากาก สวมผ้ากันเปื้อน และสวมถุงมือขณะปฏิบัติงาน พบในสัดส่วนที่ต่ำมาก กลุ่มผู้ดูแลสัตว์ตระกูลอูฐ 4 ราย และผู้ดูแลสัตว์ชนิดอื่นๆ 1 ราย มีประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ซึ่งได้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล มี 1 ราย ที่เป็นเจ้าหน้าที่เลี้ยงดูแลอูฐและอัลปากา เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการระบบทางเดินหายใจ และได้รับการวินิจฉัยเป็นไข้หวัดใหญ่ การศึกษานี้ไม่พบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงใดที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อในระดับบุคคลยังอยู่ในระดับต่ำ การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่มีความใกล้ชิดกับสัตว์ ตลอดจนการเพิ่มความเข้มงวด มาตรการ คำแนะนำสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและภัย เพื่อให้เกิดความตระหนักและเห็นความจำเป็นของการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายขณะปฏิบัติงานนั้น เป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจมีขึ้นในบุคคลากรกลุ่มเสี่ยงที่มีความใกล้ชิดกับสัตว์ |