การประเมินผลการบริหารจัดการโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนระดับอำเภอ ปีงบประมาณ 2555
รหัสดีโอไอ
Creator กริ่งแก้ว สอาดรัตน์
Title การประเมินผลการบริหารจัดการโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนระดับอำเภอ ปีงบประมาณ 2555
Contributor ฉันทนา เจนศุภเสรี, กิตติ พุฒิกานนท์, พรทิพา นิลเปลี่ยน
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2558
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 41
Journal No. 3
Page no. 179-189
Keyword โครงการป้องกันควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน, การประเมินผล, การบริหารจัดการ
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract การศึกษานี้เป็นการประเมินผลการบริหารจัดการโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) วิเคราะห์โครงสร้างการบริหารจัดการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนระดับอำเภอ (2) ประเมินความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนระดับอำเภอ และ (3) ศึกษาความคาดหวังผู้บริหารภายในและภายนอกกรมควบคุมโรคที่มีต่อการขับเคลื่อนนโยบายอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ประชากรที่ศึกษา ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เป็นคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนระดับอำเภอ ปีงบประมาณ 2555 จำนวนทั้งสิ้น 76 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) และกลุ่มที่ 2 ผู้บริหารภายนอกและภายในกรมควบคุมโรค ปีงบประมาณ 2555 จำนวนทั้งสิ้น 105 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยกำหนดคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เลือกอำเภอที่มีการบริหารจัดการโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนดีเด่น ปีงบประมาณ 2555 จำนวน 1 อำเภอ/จังหวัด รวม 76 อำเภอ/76 จังหวัด (ยกเว้น กรุงเทพมหานคร) และอำเภออื่นๆ ที่ไม่ใช่อำเภอดีเด่น โดยเลือก 1 อำเภอ/เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข รวม 18 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 94 อำเภอ ผู้ให้ข้อมูลในกลุ่มนี้คือ คณะกรรมการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน จำนวน 10-15 คน/อำเภอ จำนวนทั้งสิ้น 273 คน และกลุ่มที่ 2 เลือกผู้บริหารภายนอกกรมควบคุมโรค ได้แก่ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 5 คน และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด จำนวน 76 คน รวม 81 คน สำหรับผู้บริหารภายในกรมควบคุมโรค เลือกผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ได้แก่ รองอธิบดี จำนวน 4 คน นายแพทย์ทรงคุณวุฒิฯ จำนวน 4 คน ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ จำนวน 6 คน และผู้อำนวยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 จำนวน 10 คน รวม 24 คน รวมทั้งสิ้นในกลุ่มนี้ 105 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ปีงบประมาณ 2555 โดยคณะทำงานกองแผนงาน นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ และคณะทำงานของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่กองแผนงานจัดทำ ซึ่งผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทุกแห่ง ผลการศึกษาพบว่า (1) ทุกอำเภอมีโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการฯ ในรูปคณะกรรมการ โดยบุคลากรในหน่วยงานสาธารณสุขได้รับมอบหมายในตำแหน่งที่สำคัญ เช่น รองประธานและเลขานุการ (2) คณะกรรมการอำเภอฯ มีความพึงพอใจมาก และอำเภอได้รับประโยชน์จากการดำเนินงาน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการฯ มีข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ ควรดำเนินการโครงการต่อไปและควรเผยแพร่ตัวอย่างที่ดี (best practice) (3) การขับเคลื่อนนโยบายโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ควรดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุข โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุขเข้ามามีส่วนร่วม และมีนโยบายที่สอดคล้องกันตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับตำบล รวมทั้งเผยแพร่ชุดความรู้ตัวอย่างที่ดี โดยหน่วยงานในสังกัดกรมควบคุมโรค สสจ. อำเภอ และ อปท. ควรมีบทบาทที่เชื่อมโยงกัน และร่วมกันพัฒนาระบบงานป้องกันควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานพบว่า การสั่งการโดยอำนาจทางปกครองในบางอำเภอไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากผู้มีอำนาจสั่งการไม่ได้ลงปฏิบัติด้วย ทั้งนี้ในบางอำเภอพบว่า ผู้บริหารของหน่วยงานสาธารณสุขกับผู้บริหารของทุกภาคส่วนขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือมีประสบการณ์ทำงานร่วมกันในอดีตที่เป็นไปในเชิงลบ ทำให้ส่งผลต่อการดำเนินงานในปัจจุบัน ทำให้โครงสร้างการทำงานขาดความเป็นทีมและไม่สามารถเชื่อมโยงหรือบูรณาการงานของทุกภาคส่วนได้
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ