![]() |
สถานการณ์วัณโรคดื้อยาในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีพ.ศ. 2555-2557 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ทรงยศ ชญานินปรเมศ |
Title | สถานการณ์วัณโรคดื้อยาในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีพ.ศ. 2555-2557 |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 41 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 341-350 |
Keyword | การดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาวัณโรคครั้งแรก, การดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่เคยรับการรักษาวัณโรคมาก่อน, เชื้อวัณโรคดื้อต่อยาหลายขนาน |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อหาสัดส่วนวัณโรคดื้อยาของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกในคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลเกาะสมุย ในปี พ.ศ. 2555, 2556 และ 2557 และเปรียบเทียบสัดส่วนของวัณโรคดื้อยาในผู้ป่วยที่เป็นคนไทยกับไม่ใช่คนไทย รวมทั้งเปรียบเทียบสัดส่วนของวัณโรคดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรคร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี รูปแบบและวิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ cross sectional study โดยได้ทำการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกที่ได้ขึ้นทะเบียนรักษาระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ที่โรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ chisquaretest หรือ Fisher's exact test เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของวัณโรคดื้อยาในผู้ป่วยที่เป็นคนไทยกับไม่ใช่คนไทย และเปรียบเทียบสัดส่วนของวัณโรคดื้อยา ระหว่างผู้ป่วยวัณโรคร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ผลการศึกษา จากการศึกษาในผู้ป่วยเสมหะบวกทั้งหมด 178 ราย มีการส่งเพาะเชื้อและพบว่าเป็นเชื้อวัณโรค จำนวน 157 ราย พบว่า เป็นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับวัณโรค ร้อยละ 15 ค่ามัธยฐานอายุของผู้ป่วยเท่ากับ 39 ปี (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์, 30-50) ในปี พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2556 และ พ.ศ. 2557 พบการดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาวัณโรคครั้งแรก (drug resistance among new cases) เท่ากับ ร้อยละ 27, ร้อยละ 30, และร้อยละ 31 ตามลำดับ พบการดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่เคยรับการรักษาวัณโรคมาก่อน (drug resistance among previously treated TB cases) เท่ากับร้อยละ 50, ร้อยละ 50, และร้อยละ 67 ตามลำดับ และพบการดื้อยาวัณโรคหลายขนาน (multidrug-resistant tuberculosis: MDR-TB) ในผู้ป่วยเท่ากับร้อยละ 6.5, ร้อยละ 5.6, และร้อยละ 6.5 ตามลำดับ เมื่อทำการเปรียบเทียบสัดส่วนการดื้อยาในผู้ป่วยที่เป็นคนไทยกับไม่ใช่คนไทยพบว่า ในทั้งสองกลุ่มมีสัดส่วนการดื้อยาวัณโรคที่ไม่แตกต่างกัน (ระดับนัยสำคัญที่ 0.05) แต่พบว่า สัดส่วนการดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาวัณโรคครั้งแรกในผู้ป่วยวัณโรคร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี สูงกว่าผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p = 0.021) สรุปสถานการณ์การดื้อยาวัณโรคที่พบในโรงพยาบาลเกาะสมุย สูงกว่าผลสำรวจจากทั่วทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2556 โดยเฉพาะการดื้อยาในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการรักษามาก่อน ดังนั้น ควรเพิ่มมาตรการในการควบคุมการดื้อยาของเชื้อวัณโรค |