ประสิทธิผลของการให้การปรึกษาต่อการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายพฤติกรรมการออกกำลังกาย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รหัสดีโอไอ
Creator นิคม กสิวิทย์อำนวย
Title ประสิทธิผลของการให้การปรึกษาต่อการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายพฤติกรรมการออกกำลังกาย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
Contributor อนุพงค์ สุจริยากุล, พรรวินท์ ชำนาญกิจ
Publisher สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
Publication Year 2557
Journal Title วารสารควบคุมโรค
Journal Vol. 40
Journal No. 4
Page no. 349-360
Keyword การให้การปรึกษา, การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย, พฤติกรรมการออกกำลังกาย, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ
Website title เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค
ISSN 1685-6481
Abstract การศึกษาประสิทธิผลของการให้การปรึกษาต่อการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย พฤติกรรมการออกกำลังกาย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นการศึกษาแบบ prospective cohort study วัตถุประสงค์เพี่อศึกษาผลของการให้การปรึกษาต่อระดับการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรค เบาหวาน เปรียบเทียบความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย พฤติกรรมการออกกำลังกายกับปัจจัยด้านประชากร และศึกษาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ผ่านกระบวนการให้การปรึกษาที่คลินิกโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดราชบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 239 ราย ระยะเวลาการศึกษา พฤษภาคม 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม 2557 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ใช้อธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง อธิบายด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด สถิติเชิงอนุมานใช้สำหรับการทดสอบสมมติฐาน โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยใช้ t-test และ ANOVA วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรกับการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ผ่านกระบวนการให้การปรึกษา การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์ตัวแปรพยากรณ์ใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยวิธี Enter และ Stepwise กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.2 อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 43.1 รองลงมา 51-60 ปี ร้อยละ 34.3 อายุ 40-50 ปี ร้อยละ 17.6 และน้อยกว่า 40 ปี ร้อยละ 5.0 อายุเฉลี่ย 58.6 ปี อายุต่ำสุด 21 ปี อายุสูงสุด 80 ปี ระดับการศึกษา ประถมศึกษา ร้อยละ 78.7 รองลงมา ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 9.2 มัธยมศึกษา ร้อยละ 8.3 และอนุปริญญา ร้อยละ 3.8 อาชีพงานบ้าน ร้อยละ 45.6 รองลงมา รับจ้าง เกษตรกรรม และรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 18.8, 16.3, 14.2 และ 5.0 ตามลำดับ มีการออกกำลังกายได้ตามเกณฑ์ ร้อยละ 49.0 ออกกำลังกายไม่ได้ตามเกณฑ์ ร้อยละ 51.0 (ไม่ได้ออกกำลังกาย ร้อยละ 8.4) การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ระดับสูง ร้อยละ 88.7 ระดับปานกลาง ร้อยละ 5.4 และ ระดับต่ำ ร้อยละ 5.9 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 5.6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน ระดับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ระดับสูง ร้อยละ 77.0 ระดับปานกลาง ร้อยละ 5.9 และระดับต่ำ ร้อยละ 17.2 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.9 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน และกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามมาตรฐาน มากกว่าร้อยละ 85.0 ปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ไม่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกาย (p>0.05) การออกกำลังกายที่ปฏิบัติมากคือ การแกว่งแขน ร้อยละ 89.0 รองลงมาคือ การเดินเร็วๆ ร้อยละ 63.0 การให้การปรึกษารายกลุ่มเกี่ยวกับการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์ทั้งหมดในรูปคะแนนมาตรฐาน ปรากฏว่า ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 คือ การให้การปรึกษารายกลุ่มเกี่ยวกับการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ