![]() |
ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเนื้อไม้สักต่อลูกน้ำยุงลายบ้านและลูกน้ำยุงรำคาญ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | คณพศ ทองขาว |
Title | ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเนื้อไม้สักต่อลูกน้ำยุงลายบ้านและลูกน้ำยุงรำคาญ |
Contributor | สกุลทิพย์ ชูแก้ว, วันสงกรานต์ ศรีเผือก |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2557 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 40 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 260-267 |
Keyword | สารสกัดจากเนื้อไม้สัก, ลูกน้ำยุงลายบ้าน, ลูกน้ำยุงรำคาญ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากเนื้อไม้สัก (Tectona grandis L.f.) ต่อลูกน้ำยุงลายบ้าน (Aedes aegypti (L.)) และลูกน้ำยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus Say) วัยที่ 3 ตอนปลาย หรือวัยที่ 4 ตอนต้น โดยวิธีจุ่มกับสารสกัดจากเนื้อไม้สักที่ได้มาจากวิธีแช่ยุ่ยและวิธีซอกห์เลต เพื่อหาอัตราการตาย จากระดับความเข้มข้น ร้อยละ 0.00, 0.25, 0.50, 1.00, 2.50 และ 5.00 (ปริมาตร/ปริมาตร) ที่ 24 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากเนื้อไม้สักด้วยวิธีแช่ยุ่ยที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 5.00 มีอัตราตายสูงสุดของลูกน้ำยุงลายบ้าน เท่ากับร้อยละ 98.00 ในขณะที่ระดับความเข้มข้นตั้งแต่ร้อยละ 0.00-0.50 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) ส่วนสารสกัดจากเนื้อไม้สักด้วยวิธีซอกห์เลตที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 5.00 มีอัตราตายสูงสุดเท่ากับร้อยละ 100 ทั้งนี้ ที่ระดับความเข้มข้นตั้งแต่ร้อยละ 0.00-0.50 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) เช่นกัน สำหรับอัตราตายของลูกน้ำยุงลายบ้านต่อสารสกัดจากเนื้อไม้สักด้วยวิธีแช่ยุ่ยและวิธีซอกห์เลต ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) ในลูกน้ำยุงรำคาญ สารสกัดจากเนื้อไม้สักด้วยวิธีแช่ยุ่ยที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 5.00 มีอัตราตายสูงสุดเท่ากับร้อยละ 77.00 ขณะที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0.00-0.25 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) ส่วนสารสกัดจากเนื้อไม้สักด้วยวิธีซอกห์เลตที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 5.00 มีอัตราตายสูงสุดเท่ากับร้อยละ 100 แต่ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0.00-0.50 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) สำหรับอัตราตายของลูกน้ำยุงรำคาญต่อสารสกัดจากเนื้อไม้สักด้วยวิธีแช่ยุ่ยและวิธีซอกห์เลต มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยสารสกัดจากเนื้อไม้สักด้วยวิธีซอกห์เลตมีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยดีกว่าสารสกัดจากเนื้อไม้สักด้วยวิธีแช่ยุ่ย โดยมีอัตราการตายเฉลี่ยที่ร้อยละ 31.67 และ 28.00 ตามลำดับ และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการสกัดสารจากเนื้อไม้สักกับระดับความเข้มข้น โดยสารสกัดจากเนื้อไม้สักด้วยวิธีซอกห์เลตที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 5.00 มีอัตราตายสูงสุดร้อยละ 100 ดังนั้น สารสกัดจากเนื้อไม้สักมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ควบคุมลูกน้ำยุงลายบ้านและยุงรำคาญต่อไป |