![]() |
การจัดตั้งระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2554-2556 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วันชัย อาจเขียน |
Title | การจัดตั้งระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ในประเทศไทย พ.ศ. 2554-2556 |
Contributor | โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์ |
Publisher | สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
Publication Year | 2557 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 40 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 222-232 |
Keyword | เหตุการณ์, เฝ้าระวัง, แนวทาง, ประเทศไทย |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | แนวคิดใหม่ในกฎอนามัยระหว่างประเทศ ปี 2548 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการขยายตัวของข่าวสารภาคประชาชน เป็นปัจจัยร่วมที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ ซึ่งช่วยตรวจจับและตอบสนองเหตุการณ์ได้รวดเร็ว ต่างจากการรายงานผู้ป่วยในระบบเฝ้าระวังโรคแบบเดิม ซึ่งให้ข้อมูลเป็นดัชนีชี้วัดที่ใช้ติดตามกำกับผลงานและผลกระทบการดำเนินงานควบคุมโรค ระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ มี 3 ประเภท คือ (1) ระบบรวบรวมข่าว (2) ระบบอัตโนมัติ และ (3) ระบบที่ใช้ทีมงาน ซึ่งประเทศไทยจัดตั้งด้วยระบบนี้ เริ่มจากปี 2552 กำหนดให้การเฝ้าระวังเหตุการณ์เป็นสมรรถนะด้านเฝ้าระวังโรคตามมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ปี 2553 จัดทำหลักสูตรและอบรมวิทยากร ปี 2554-2555 ฝึกอบรมทีม SRRT เครือข่ายระดับตำบล ซึ่งส่วนใหญ่เป็น อสม. เพื่อให้แจ้งข่าวเหตุการณ์ในพื้นที่ จัดทำคู่มือแนวทางสำหรับ อสม. และทีม SRRT ในปี 2554 และปี 2556 ตามลำดับ รายละเอียดของแนวทางประกอบด้วย วัตถุประสงค์ นิยาม การแจ้งข่าว พัฒนาแหล่งข่าว กระบวนการปฏิบัติงานตั้งแต่รับข่าว กรองข่าว ประเมินความเร่งต่วน ตรวจสอบยีนยัน วิเคราะห์สัญญาณภัย ประเมินสถานการณ์ และตอบสนองเหตุการณ์ ซึ่งควรมีการประเมินประสิทธิผลของระบบกระบวนการปฏิบัติงาน รวมถึงการพัฒนาไปสู่ระบบอัตโนมัติต่อไป |