![]() |
อิทธิพลของพลเมืองเสมือนในการสร้างอัตลักษณ์ทางการแข่งขันและซอฟต์พาวเวอร์: กรณีศึกษาประเทศเอสโตเนีย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สมพงค์ พรมสะอาด |
Title | อิทธิพลของพลเมืองเสมือนในการสร้างอัตลักษณ์ทางการแข่งขันและซอฟต์พาวเวอร์: กรณีศึกษาประเทศเอสโตเนีย |
Publisher | Mae Fah Luang University |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences |
Journal Vol. | 13 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 1-21 |
Keyword | พลเมืองเสมือน, อัตลักษณ์ทางการแข่งขัน, ซอฟต์พาวเวอร์, E-residency, Competitive Identity, Soft Power |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MFUconnexion |
Website title | Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences |
ISSN | 2821-9651 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา แนวคิด การดำเนินการ และผลลัพธ์ของโปรแกรมพลเมืองเสมือน หรือ E-residency และอธิบายผลกระทบของโปรแกรมที่มีต่ออัตลักษณ์ทางการแข่งขันและซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศเอสโตเนีย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ธีม หรือแก่นสาระสำคัญของปรากฏการณ์ และทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือตามหลักการตรวจสอบแบบสามเส้าในด้านการตรวจสอบด้านข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมพลเมืองดิจิทัลเป็นแนวคิดซึ่งต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ได้รับอิสรภาพจากสหภาพโซเวียต ก่อให้เกิดระบบนิเวศผู้ประกอบการข้ามพรมแดนแบบใหม่หรือแพลตฟอร์มของการประกอบธุรกิจในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในขณะเดียวกันได้สร้างผลกระทบในการเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางการแข่งขันให้กับประเทศอย่างมีกลยุทธ์ กล่าวคือ ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศควบคู่ไปกับการสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นในเวทีโลกไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ ได้สร้างผลกระทบในแง่การสร้างซอฟต์พาวเวอร์ให้กับเอสโตเนีย โดยเฉพาะซอฟต์พาวเวอร์ที่เกิดจากการใช้ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างการพึ่งพาทางเศรษฐกิจในรูปของการทูตดิจิทัล ตลอดจนการเป็นผู้นำด้านการเสนอคุณค่าทางอุดมคติที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของการเปิดกว้างและการเข้าถึงที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นโปรแกรมพลเมืองดิจิทัลจึงเป็นการขยายอิทธิพลของเอสโตเนียบนเวทีโลก ทลายข้อจำกัดของการเป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กและจำนวนประชากรน้อย ที่สอดคล้องกับแนวคิดของคนรุ่นก่อนที่กล่าวไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1869 ว่า “หากเราไม่สามารถใหญ่ได้ในเชิงจำนวน เราก็ต้องสร้างจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาแทน” |