อปท. กับการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
รหัสดีโอไอ
Creator ชวิศ ศรีมณี
Title อปท. กับการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
Contributor ศักดิ์ดา หอมหวล, อรัญญา ศิริผล, วราภรณ์ บุญเชียง, ศิรเศรษฐ เนตรงาม, วิทวัส ขัติรัตน์
Publisher Mae Fah Luang University
Publication Year 2567
Journal Title Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences
Journal Vol. 13
Journal No. 2
Page no. 72-92
Keyword องค์กรปกครองท้องถิ่น, การเพิ่มขีดความสามารถ, การให้บริการสุขภาพ, ผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง, เทคโนโลยีดิจิทัล, เทศบาลตำบลเวียงยอง, Local Administrative Organization, Capacity Building, Enhancing Healthcare Services, Elderly and Dependent People, Digital Technology, Wiang Yong Subdistrict Municipality
URL Website https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MFUconnexion
Website title Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences
ISSN 2821-9651
Abstract บทความวิจัยนี้ศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการให้บริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางในท้องถิ่น โดยเลือกตำบลเวียงยอง จังหวัดลำพูน เป็นกรณีศึกษา เพื่อพัฒนากลไกการให้บริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเสริมศักยภาพบุคลากรท้องถิ่น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติงานและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่ทำงานร่วมกับบุคลากรท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายตั้งแต่เริ่มต้น ใช้แนวทาง “รังสรรค์ร่วม” (Co-Creation) ซึ่งเริ่มจากความต้องการของชุมชนและสนับสนุนด้วยพหุศาสตร์วิชาการ เพื่อพัฒนาวิธีแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการให้บริการสุขภาพในพื้นที่ผลการศึกษาพบการพัฒนา 2 แอปพลิเคชัน ได้แก่ ระบบ “ฮับส่งโฮงยา” (MedCarHub): ให้บริการรถพยาบาลตามนัดหมาย และระบบยืมคืนกายอุปกรณ์การแพทย์ (Medical Prosthesis Borrow-Return): บริหารจัดการการยืม-คืนอุปกรณ์การแพทย์ นวัตกรรมดิจิทัลนี้ไม่เพียงใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเท่านั้น แต่สามารถผสานเทคโนโลยีเข้ากับการดำเนินงานของ อปท. ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าซื้ออุปกรณ์การแพทย์ และค่าเสียเวลารอคอยได้ 100% ในกลุ่มคนเปราะบางของตำบล ซึ่งช่วยลดข้อท้าทายในการจัดบริการสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยเฉพาะการให้บริการผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในกรณีที่ไม่ฉุกเฉิน (Non-emergency System) ที่ยังขาดระบบสนับสนุนที่เหมาะสม นอกจากนี้ ความรู้จากงานวิจัยยังช่วยให้เทศบาลตำบลเวียงยองกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนานวัตกรรมในท้องถิ่น โดยนวัตกรท้องถิ่นสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ไปยัง อปท. อื่นได้ในอนาคต
MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ