ภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรมไทใหญ่ผ่านแบบเรียน
รหัสดีโอไอ
Creator ชูชาติ ใจแก้ว
Title ภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรมไทใหญ่ผ่านแบบเรียน
Contributor สุภาวดี เพชรเกตุ
Publisher Mae Fah Luang University
Publication Year 2567
Journal Title Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences
Journal Vol. 13
Journal No. 2
Page no. 22-48
Keyword ครอบครัวไทใหญ่, แบบเรียนไทใหญ่, การธำรงชาติพันธุ์, ภาพสะท้อนจากแบบเรียน, Shan Family, Shan School Textbooks, Ethnic Preservation, Reflections from Textbooks
URL Website https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MFUconnexion
Website title Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences
ISSN 2821-9651
Abstract งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งนำเสนอให้เห็นว่าแบบเรียนไทใหญ่ได้สะท้อนภาพสังคมวัฒนธรรมไทใหญ่อย่างไร และสามารถธำรงชาติพันธุ์ของตนไว้ได้อย่างไร โดยศึกษาผ่านเนื้อหาของแบบเรียนที่เขียนด้วยอักษรไทใหญ่แบบใหม่ซึ่งเป็นแบบเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมูลฐานหรือระดับอนุบาลไปจนถึงชั้นที่ 6 ของไทใหญ่ ที่ใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียนทั้งในรัฐฉาน และโรงเรียนพลัดถิ่นตามพรมแดนไทย เมียนมา และตามวัดที่เป็นอยู่หรือชุมชนชาวไทใหญ่ เป็นระบบการศึกษาแบบตามอัธยาศัย โดยใช้วิธีการศึกษาและวิเคราะห์จากเอกสารหนังสือแบบเรียนของไทใหญ่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 29 เล่ม โดยใช้กรอบแนวคิดภาพสะท้อน (Reflection Theory) และแนวคิดเรื่องชาติพันธุ์ธำรง (Ethnicity) ผลการศึกษาสามารถสรุปว่าแบบเรียนได้สะท้อนภาพสังคมวัฒนธรรมและการธำรงชาติพันธุ์ไว้ได้ เพราะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ลักษณะ คือ (1) การสมมุติบทบาทเจ้าฟ้าจากรัฐจารีตสู่บทบาทของคนในครอบครัว คือ พ่อ แม่ ลูก (2) ค่านิยมที่ส่งต่อในครอบครัว คือ ความกตัญญู ความสามัคคี ความสะอาด และการค้า (3) พุทธศาสนาพื้นที่แห่งตัวตนของไทใหญ่ ผ่านประเพณีที่สำคัญ และ (4) อักษรไทใหญ่เพื่อความเป็นไทใหญ่
MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ