![]() |
ศาสตร์การแปลในทัศนะของอ็องตวน แบร์มาน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อาทิตย์ วงษ์สง่า |
Title | ศาสตร์การแปลในทัศนะของอ็องตวน แบร์มาน |
Publisher | สมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย |
Journal Vol. | 42 |
Journal No. | 138 |
Page no. | 79-98 |
Keyword | อองตวน แบร์มาน, ศาสตร์การแปล, ทฤษฎีการแปล, ความเป็นอื่น, ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/bulletinatpf/index |
Website title | วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย |
ISSN | 2697-3847 |
Abstract | ในวงวิชาการด้านการแปลศึกษาของฝรั่งเศส อ็องตวน แบร์มาน (Antoine Berman) ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกทางทฤษฎีที่สำคัญคนหนึ่งในการสถาปนาการแปลให้เป็น "ศาสตร์" ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้และวิธีวิทยาเป็นการเฉพาะ และแตกต่างจากกระบวนทัศน์วิธีวิทยาทางภาษาศาสตร์ซึ่งพิจารณาว่าการแปลเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการถ่ายภาษาที่กระทำขึ้นระหว่างภาษาสองภาษา อ็องตวน แบร์มาน พิจารณาว่าทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมายที่ ดานิกา เซเลสโกวิชต์ (Danica Seleskovitch) และมารีอานน์ เลเดแรร์ (Marianne Lederer) ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นศาสตร์เอกเทศจากภาษาศาสตร์และใช้เป็นทฤษฎีหลักในการเรียนการสอนของสถาบันชั้นสูงด้านการล่ามและการแปล (?cole Sup?rieure d'Interpr?tes et de Traducteurs (E.S.I.T)) ณ กรุงปารีส นั้นยังมีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีภาษาศาสตร์ซึ่งให้ความสำคัญกับการค้นหาคำศัพท์สำนวนเทียบเคียงเพื่อถ่ายทอดความหมายไปยังผู้อ่านบทแปลโดยมองข้ามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภาษาต้นฉบับไป แนวคิดญาณวิทยาทางการแปลของ อ็องตวน แบร์มานจึงมุ่งเน้นไปที่การใคร่ครวญและพิจารณาการแปลในฐานะที่เป็นการปะทะสังสันทน์ทางวัฒนธรรมของชนต่างภาษา มิใช่กระบวนการสลับภาษาที่กระทำกันได้โดยอัตโนมัติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การศึกษาการแปลจึงควรมีรากฐานมาจากการเคารพวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในต้นฉบับ โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางภาษา บทแปลเองก็ควรมีความแปลกแปร่งไปตามรูปแบบและแนวคิดในการเขียนของผู้ประพันธ์ต้นฉบับ มิใช่ลื่นไหลเป็นธรรมชาติและเข้าใจได้ง่ายประหนึ่งว่าผู้ประพันธ์นั้นเป็นคนที่อยู่ในชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเดียวกันกับผู้อ่านบทแปล |