การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เพื่อการจัดทำสวนกระเป๋าในเมือง กรณีศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
รหัสดีโอไอ
Creator อังค์วรา ร่มศรี
Title การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เพื่อการจัดทำสวนกระเป๋าในเมือง กรณีศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
Contributor วิมลสิริ แสงกรด, แทนศร พรปัญญาภัทร
Publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Publication Year 2568
Journal Title วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI)
Journal Vol. 24
Journal No. 1
Page no. 86-103
Keyword สวนกระเป๋า, พื้นที่สีเขียว, เทศบาลนครอุดรธานี
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku
Website title Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand
ISSN 2651-1185
Abstract การวิจัยเรื่อง วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เพื่อการจัดทำสวนกระเป๋าในเมือง กรณีศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการพื้นที่สวนสาธารณะในเขตเทศบาลนครอุดรธานีภายใต้กรอบแนวคิดเมือง 15 นาที รวมถึงการหาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการจัดทำสวนกระเป๋า และเสนอแนวทางการพัฒนาสวนกระเป๋าในเขตพื้นที่เทศบาลนครอุดรธานี โดยการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non Participative) ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ รวมถึงสำรวจบริเวณที่มีศักยภาพในการนำมาปรับปรุงเป็นสวนกระเป๋าเบื้องต้นในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวด้วยวิธีการลำดับชั้นวิเคราะห์ (Analysis Hierarchy Process : AHP) โดยมีเกณฑ์การพิจารณาบริเวณที่มีศักยภาพการเป็นสวนกระเป๋า 3 ข้อ ได้แก่ 1) มีขนาดที่ดินรวมกันไม่เกิน 2 ไร่ 2) ไม่สามารถเข้าถึงสวนสาธารณะอื่นได้ในระยะ 800 เมตร และ 3) มีความหนาแน่นของกิจกรรมที่เหมาะสม ซึ่งพบว่าเทศบาลนครอุดรธานีควรต้องมีการจัดทำสวนกระเป๋าอย่างน้อย 6 ตำแหน่ง เพื่อให้เทศบาลนครอุดรธานีระดับการให้บริการพื้นที่สวนสาธารณะตามแนวคิดเมือง 15 นาทีผลจากการสำรวจพบพื้นที่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี พบพื้นที่รกร้างว่างเปล่า และไม่สามารถเข้าถึงสวนสาธารณะในระยะ 800 จาก 52 พื้นที่ พบว่าพื้นที่ที่ได้คะแนน 8 ถึง 9 คะแนน มีจำนวน 36 พื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 69.23 กระจายตัวอยู่ในบริเวณที่มีความต้องการการเข้าถึงพื้นที่สวนสาธารณะ ทั้งนี้ ความแตกต่างของคะแนนมาจากขนาดพื้นที่ และปริมาณกิจกรรมโดยรอบ โดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่เป็นผู้สร้างเครือข่ายความร่วมมือและเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน และบูรณาการระหว่างหน่วยงานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาชน ตั้งแต่ขั้นตอนการตัดสินใจ การดำเนินงาน และการประเมินผล โดยควรส่งเสริมให้เข้ามามีบทบาทการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาสอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงลดความเสี่ยงการเกิดข้อแย้งจากการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตตามแนวคิดการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ