การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค พื้นที่ศึกษาเมืองนครราชสีมากท่องเที่ยวกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
รหัสดีโอไอ
Creator มัตติกา ชัยมีแรง
Title การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค พื้นที่ศึกษาเมืองนครราชสีมากท่องเที่ยวกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Publication Year 2568
Journal Title วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI)
Journal Vol. 24
Journal No. 1
Page no. 52-67
Keyword โคราชจีโอพาร์ค, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การประเมินมาตรฐานคุณภาพ
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku
Website title Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand
ISSN 2651-1185
Abstract การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค พื้นที่ศึกษาเมืองนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีผู้ประเมินเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 5 คน ได้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา และการสำรวจข้อมูลภาคสนาม ในแบบประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม มีองค์ประกอบการประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว คะแนนเต็ม 50 คะแนน องค์ประกอบที่ 2 ศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว คะแนนเต็ม 10 คะแนน และองค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการ คะแนนเต็ม 40 คะแนน รวมคะแนนทั้งหมด 100 คะแนน และนำผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทำการจัดระดับมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า การประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมครบทุกองค์ประกอบ มีจำนวน 20 แห่ง ในพื้นที่โคราชจีโอพาร์คของพื้นที่เมืองนครราชสีมา ระดับมาตรฐานของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม พบว่า ระดับมาตรฐานดีมาก จำนวน 6 แห่ง ระดับมาตรฐานดี จำนวน 6 แห่ง ระดับมาตรฐานปานกลาง จำนวน 7 แห่ง และระดับมาตรฐานต่ำ จำนวน 1 แห่ง และจากผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ โดยแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมระดับมาตรฐานดี ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาด้านศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว ด้านศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว และด้านการบริหารจัดการ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมระดับมาตรฐานปานกลางและต่ำ ควรได้รับการศึกษาวิจัยรายองค์ประกอบและรายดัชนี เพื่อจะได้ข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวในด้านที่ควรได้รับการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวให้สูงขึ้น เพื่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยว และชุมชนได้รับการพัฒนาจะเป็นโอกาสในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ