![]() |
แผ่นวัสดุดูดซับเสียงจากเส้นใยชานอ้อย และวัสดุประสานจากธรรมชาติ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ณัฐณิชา ภมะราภา |
Title | แผ่นวัสดุดูดซับเสียงจากเส้นใยชานอ้อย และวัสดุประสานจากธรรมชาติ |
Contributor | ณัฏรี ศรีดารานนท์, โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์ |
Publisher | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI) |
Journal Vol. | 23 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 143-157 |
Keyword | ชานอ้อย, กาวธรรมชาติ, การลดเสียง, วัสดุทางเลือก, เทคโนโลยีที่เหมาะสม |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku |
Website title | Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand |
ISSN | 2651-1185 |
Abstract | งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการนำเส้นใยชานอ้อยที่เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากโรงงานอุตสาหกรรม และวัสดุประสานจากธรรมชาติ (น้ำยางพารา และยางบง) มาพัฒนาเป็นแผ่นวัสดุรองพื้นดูดซับเสียงภายในอาคาร เพื่อใช้เป็นวัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากวัสดุธรรมชาติ 100% โดยการผลิตแผ่นตัวอย่างที่กำหนดให้มีความหนาแน่น 400 กก./ลบ.ม. และมีอัตราส่วนโดยน้ำหนักของ ชานอ้อย: น้ำยางพารา: ยางบง: น้ำ ที่แตกต่างกัน ทำการขึ้นรูปด้วยวิธีการอัดร้อนที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส แรงดัน 100 กก./ตร.ซม. เป็นเวลา 15 นาที จากนั้นทำการทดสอบค่าความหนาแน่น การรับแรงดัด การรับแรงดึง และการดูดซับเสียง เปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ (มอก.876-2547)ผลทดสอบพบว่าแผ่นที่มีอัตราส่วนผสม (โดยน้ำหนัก) ของชานอ้อย:ยางพารา เท่ากับ 60:40 และยางบง:น้ำ เท่ากับ 1:3 โดยอัตราส่วนของยางบงเท่ากับ 10% ของน้ำหนักชานอ้อย และยางพารา นั้นมีคุณสมบัติในภาพรวมดีที่สุดคือมีการรับแรงดัดเท่ากับ 1.415 MPa แรงดึงเท่ากับ 0.203 MPa และการดูดซับเสียงด้านผิวขรุขระเท่ากับ 0.325 NRC มีความเหมาะสมในการนำไปพัฒนาต่อยอดมากที่สุด จากผลการทดสอบจะเห็นได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำ เส้นใยธรรมชาติจากชานอ้อยไปพัฒนาต่อยอดเป็นแผ่นรองพื้นภายในอาคารที่สามารถดูดซับเสียงและป้องกันเสียงกระแทกจากของตกหล่นภายในอาคารได้ อย่างไรก็ตามควรพัฒนาคุณสมบัติด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นรวมถึงคุณสมบัติด้านการลามไฟเพื่อการนำไปใช้งานในอนาคต |