อัตลักษณ์สถานที่ของสวนสุนัขแบบไม่ทางการ : กรณีศึกษาพื้นที่ว่างในกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี
รหัสดีโอไอ
Creator เกดสุดา เมธีวิวัฒน์
Title อัตลักษณ์สถานที่ของสวนสุนัขแบบไม่ทางการ : กรณีศึกษาพื้นที่ว่างในกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี
Contributor ณรงพล ไล่ประกอบทรัพย์, คัทลียา จิรประเสริฐกุล
Publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Publication Year 2567
Journal Title วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI)
Journal Vol. 23
Journal No. 3
Page no. 123-142
Keyword อัตลักษณ์สถานที่, สวนสุนัขแบบไม่ทางการ, พื้นที่ภาวการณ์หรือพื้นที่ที่เกิดขึ้นเอง, สังคมไร้บุตรหลาน
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku
Website title Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand
ISSN 2651-1185
Abstract จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยในปัจจุบันโครงสร้างของครัวเรือน “ไร้ลูกหลาน” มีอัตราการเติบโต (growth rate) ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับตลาดสัตว์เลี้ยงที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบว่าการเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเป็นครอบครัวในครัวเรือนไร้ลูกหลาน ซึ่ง “สุนัข” เป็นสัตว์เลี้ยงที่นิยมที่สุด สุนัขกลายเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเสมือนเป็นภาพตัวแทนบุตร สุนัขจึงถูกให้ความสำคัญ ใส่ใจในทุกรายละเอียด ทั้งสุขภาพอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงส่งเสริมให้ได้ออกกำลังกายปลดปล่อยพลังงานอย่างอิสระ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องการพื้นที่ พื้นที่นั้นต้องส่งเสริมให้กิจกรรมดำเนินได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ตามพื้นที่สาธารณะในไทยปัจจุบันมักไม่ได้รองรับการใช้งานของกลุ่มคนเลี้ยงสุนัขอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดการใช้พื้นที่ลักษณะสวนสุนัขแบบไม่ทางการขึ้น ดังเช่นบริเวณพื้นที่ว่างในกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ซึ่งกลายเป็นแหล่งพบปะของกลุ่มคนรักสุนัข การวิจัยพื้นที่ดังกล่าวพบว่าคุณลักษณะทางกายภาพกิจกรรมและความหมาย ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติส่งเสริมให้เกิดอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่ไม่เป็นทางการ ที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของพื้นที่งานวิจัยนี้มุ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์สถานที่ของสวนสุนัขแบบไม่ทางการของกลุ่มคนรักสุนัข โดยใช้การวิเคราะห์แบบตีความ การวิจัยแสดงเห็นว่าคุณลักษณะทางกายภาพ กิจกรรมและความหมาย เป็นปัจจัยนำไปสู่ความเป็นอัตลักษณ์สถานที่ของสวนสุนัขแบบไม่ทางการ สร้างความเข้าใจพื้นที่สำหรับกิจกรรมรูปแบบเฉพาะของกลุ่มคนรักสุนัข นำไปสู่แนวทางในการออกแบบพื้นที่สาธารณะสำหรับสัตว์เลี้ยงที่สามารถตอบโจทย์การอยู่ร่วมกันในสังคม ทั้งนี้ ภาครัฐและเอกชนสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไป
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ