![]() |
พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและความชื้นผ่านผนังจากขวดแก้ว |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เทอดพงษ์ ไชยณรงค์ |
Title | พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและความชื้นผ่านผนังจากขวดแก้ว |
Contributor | ชูพงษ์ ทองคำสมุทร |
Publisher | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry BEI) |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 79-97 |
Keyword | ถ่ายเทความร้อน, ความชื้น, ขวดแก้ว |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku |
Website title | Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand |
ISSN | 2651-1185 |
Abstract | การวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนและความชื้นผ่านผนังจากขวดแก้ว เพื่อเป็นแนวทางในการนำขยะประเภทขวดแก้วกลับมาประยุกต์ใช้กับงานก่อสร้างด้านผนังอาคาร เนื่องจากการลดการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังอาคารช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานและเกิดสภาวะน่าสบายภายในอาคาร จึงแสดงให้เห็นว่าวัสดุที่ใช้ในการป้องกันความร้อนละความชื้นด้านผนังอาคาร มีบทบาทต่อการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร จึงเกิดแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุป้องกันความร้อนและความชื้นผ่านผนังจากขวดแก้วที่ใช้แล้ว เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและนำไปปรับใช้ได้ตรงความต้องการ จึงได้ทำการศึกษาจากอาคารตัวอย่าง โดยทำาการสำรวจภาคสนาม ศึกษาอาคารที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเก็บข้อมูลด้านกายภาพจากอาคารตัวอย่าง จำนวน 3 อาคาร คือ 1. วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว จังหวัดศรีสะเกษ 2. วัดลาดเก่า จังหวัดยโสธร 3. แหล่งเรียนรู้การตัดขวดแก้วด้วยมือ จังหวัดสุรินทร์ ดำเนินการบันทึกและวัดค่าอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ด้วยอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลเพื่อนำมาเปรียบเทียบผลการทดลอง กับวัสดุผนังทดสอบที่สร้างขึ้นมา โดยกล่องที่ใช้มีขนาดพื้นที่บริเวณช่องเปิดด้านหน้าสำหรับการติดตั้งวัสดุทดสอบเท่ากับ 0.60 x 0.60 x 0.60 เมตร ความหนาของกล่อง 0.15 เมตร โดยทำการศึกษาผนังทดสอบ 3 ชนิด คือ 1. ทดสอบผนังก่ออิฐบล็อกฉาบปูนเรียบ 2. ทดสอบผนังก่ออิฐบล็อกก่อปิดทับด้านหน้าด้วยขวดแก้ว 3. ผนังก่อด้วยขวดแก้วตัด การทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยในส่วนที่ 1 เป็นการสำรวจตรวจวัดค่าเปรียบเทียบอุณหภูมิอากาศและความชื้นภายนอก ส่วนที่ 2 เป็นการทดสอบในกล่องทดลองเพื่อควบคุมตัวแปร ทำการวัดค่าอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ทุกๆ 5 นาที ด้วยอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูล ทำการเก็บผลการทดลองในช่วงฤดูร้อน ระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2565 ผลจากการสำรวจและวัดค่าจากอาคารตัวอย่างพบว่าช่วงเวลากลางคืนผนังก่ออิฐบล็อกก่อปิดทับด้านหน้าด้วยขวดแก้ว จะสามารถช่วยชะลอความรุนแรงของสภาพอากาศได้ดีเช่นเดียวกันกับผลจากการทดลองกับกล่องทดลอง จากการสำรวจจากอาคารตัวอย่างและจากการทดลองกับกล่องทดลอง ผนังอาคารขนาดพื้นที่ 1x1 ตร.ม. จะสามารถช่วยลดขยะประเภทขวดแก้ว ขนาด 620 มล. ได้จำนวน 100 ขวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและระยะห่างในการจัดวางขวดแก้วด้วย ผนังก่ออิฐบล็อกก่อปิดทับด้านหน้าด้วยขวดแก้วจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงกว่าผนังก่อบล็อคฉาบปูน ประมาณ 500-600 บาท เหมาะกับการนำไปปรับใช้กับอาคารที่มีการใช้งานในช่วงเวลากลางคืน จะสามารถช่วยชะลอความรุนแรงของสภาพอากาศได้ดีในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่จะช่วยป้องกันอากาศหนาวเย็นจากภายนอกในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงกลางคืนได้ประมาณ 2-4 องศาเซลเซียสที่อยู่อาศัยและยังคงอาคารที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจากอิทธิพลของหลายเชื้อชาติ รวมถึงเป็นชุมชนเก่าแก่ที่อยู่ท่ามกลางการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง หากไม่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบรวมถึงการจัดการที่ดีพอ พื้นที่อาจถูกคุกคาม ทำให้อัตลักษณ์ถูกลดทอนคุณค่าและจางหายไปในที่สุด ดังนั้นจึงเกิดการศึกษา อัตลักษณ์ทางกายภาพของชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพ และองค์ประกอบที่ไม่ใช่กายภาพที่เกี่ยวข้องกับชุมชนกาดกองต้า จากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับผลการศึกษาพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงชุมชนกาดกองต้า การลงสำรวจพื้นที่ภาคสนาม ประกอบกับการใช้เกณฑ์การประเมินคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาสู่บทสรุปอัตลักษณ์ทางกายภาพของชุมชนกาดกองต้า ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่า ชุมชนกาดกองต้ามีการตั้งถิ่นฐานเลียบริมแม่น้ำวังฝั่งตะวันออกและเคยมีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะศูนย์กลางการค้าไม้ของล้านนา โดยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา ที่ตั้ง ลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมแสดงผ่านรูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่โดดเด่นตามแนวเส้นทางคมนาคม สอดคลอ้ งกับการวางตวั ของกล่มุ อาคารเรือนแถวที่มีความต่อเนื่องและขนานกับแม่น่ำวังและถนนตลาดเก่า ส่งผลให้เกิดลักษณะแผนผังแบบเกาะตัวตามยาว โดยมีเส้นทางสัญจรเป็นตัวกำหนดลักษณะการวางตัวของเรือนแถว ในขณะที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่มีความเฉพาะตัวอันสะท้อนถึงการผสมผสานของวัฒนธรรมผ่านการออกแบบกับการใช้สอยประโยชน์อาคารเพื่ออยู่อาศัยและค้าขายสามารถถ่ายทอดให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ในชุมชนซึ่งมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนอดีตทับซ้อนกันหลายยุคสมัยและความเป็นย่านการค้าเก่าของจังหวัดลำปางได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้จึงกล่าวได้ว่า องค์ประกอบทางด้านเศรษฐกิจด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้องค์ประกอบด้านกายภาพมีความโดดเด่นและชัดเจนมากยิ่งขึ้น สังเกตได้จากความโดดเด่นของลักษณะทางกายภาพที่พบ มักมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับคนในชุมชน โดยปรากฏให้เห็นและบุคคลทั่วไปสามารถเกิดการรับรู้ผ่านผังชุมชน รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ภูมิทัศน์ชุมชน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่มีความเฉพาะ สะท้อนออกมาเป็นอัตลักษณ์ทางกายภาพของชุมชนกาดกองต้าได้อย่างชัดเจน ซึ่งผลจากการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนที่มีบริบทความเป็นชุมชนเก่าแก่ หรือชุมชนตลาดเก่าที่คล้ายคลึงกัน และจะช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านตระหนักถึงคุณค่าและเป็นการสร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลในการประกอบการวางแผนอนุรักษ์หรือพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพ และคงรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนให้สืบต่อไป |