![]() |
การปรับปรุงแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ญาดา ชวาลกุล |
Title | การปรับปรุงแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ |
Publisher | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry BEI) |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 63-77 |
Keyword | แนวทางการออกแบบ, ตัวบ่งชี้วิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์, ความเข้าใจวิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์, ผู้สูงอายุ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku |
Website title | Built Environment Inquiry Journal Faculty of Architecture Khon Kaen University, Thailand |
ISSN | 2651-1185 |
Abstract | บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิจัยฉบับสมบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินแนวทางการออกแบบตัวบ่งชี้วิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และ 2) ปรับปรุงแนวทางการออกแบบ โดยอ้างอิงหลักการนิรนัย ผู้วิจัยใช้รูปแบบวิจัยเชิงประยุกต์ ดำเนินการวิจัยประสานกระบวนการออกแบบ ผู้ให้ข้อมูลในบทความฉบับคือนักออกแบบจำนวน 12 คน และอาสาสมัครผู้สูงอายุจำนวน 36 คน เริ่มด้วยการให้นักออกแบบทดลองใช้เครื่องมือและแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อระบุความต้องการการออกแบบตัวบ่งชี้วิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์ 2 ตัวอย่างที่เข้าใจยากสำหรับผู้สูงอายุ และให้ตัวแทนนักออกแบบ 2 คนปรับตัวบ่งชี้วิธีการเปิดบรรจุภัณฑ์ตามความต้องการการออกแบบ จากนั้นให้อาสาสมัครผู้สูงอายุจำนวน 36 คนทดลองเปิดบรรจุภัณฑ์ที่ปรับตัวบ่งชี้ซึ่งขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ เปรียบเทียบกับบรรจุภัณฑ์เดิม และจัดอันดับตามความเข้าใจวิธีการเปิดยาก-ง่าย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเหตุผลเบื้องหลังการจัดอันดับบรรจุภัณฑ์โดยใช้การสัมภาษณ์ ผลการประเมินพบว่า 1 ใน 2 ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่ปรับปรุงตัวบ่งชี้แล้วเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ขยายความแนวทางการออกแบบเฉพาะทางสำหรับบรรจุภัณฑ์และเพิ่มแนวทางการออกแบบจากต้นฉบับเดิม โดยจัดกลุ่มไว้ตามขั้นตอนกระบวนการคิดขณะเปิดบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ 1) สังเกต-ระบุ-อ่านตัวบ่งชี้ แนะนำใช้ตัวบ่งชี้ 3 มิติเช่นรูปทรงฝาและลักษณะพื้นผิวรอบฝา เพื่อลดปัญหาการรับรู้ตัวบ่งชี้ 2 มิติขนาดเล็ก เช่น ค่าและเครื่องหมาย 2) เข้าใจวิธีการเปิด แนะนำใช้ตัวบ่งชี้ 3 มิติ ตามหลักการรูปทรงสอดคล้องการใช้งาน หากรูปทรงเรียบง่าย แนะนำเพิ่มตัวบ่งชี้ 2 มิติเช่นลูกศรเพื่อเพิ่มความแม่นยำการอธิบายวิธีการเปิด 3) เปิดบรรจุภัณฑ์ แนะนำพิจารณาข้อจำกัดการใช้มือของผู้สูงอายุ พฤติกรรมการใช้สินค้าและบรรจุภัณฑ์ กลไกการเปิดและใช้บรรจุภัณฑ์ |