![]() |
การวิเคราะห์แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในประเทศไทยโดยใช้เกาะหมาก จังหวัดตราด เป็นกรณีศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธารีทิพย์ เหล่าวิโรจนกุล |
Title | การวิเคราะห์แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในประเทศไทยโดยใช้เกาะหมาก จังหวัดตราด เป็นกรณีศึกษา |
Contributor | อัศวิน แสงพิกุล |
Publisher | Huachiew Chalermprakiet University |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | Academic and Research Journal of Liberal Arts |
Journal Vol. | 19 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 41-53 |
Keyword | การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ, เกาะหมาก, การอนุรักษ์พลังงาน, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/issue/view/18063 |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu |
ISSN | 3056-9052 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำจากข้อมูลเชิงวิชาการ 2) เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในเชิงปฏิบัติในพื้นที่เกาะหมาก จ.ตราด จากแหล่งข้อมูลที่ปรากฏในสื่อองค์กรต่างๆ และ 3) เพื่อวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำที่เหมาะสมในประเทศไทย งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลเชิงวิชาการจากฐานข้อมูล TCI และ Google Scholar และข้อมูลจากองค์กรหรือสื่อต่างๆ ที่นำเสนอเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในพื้นที่เกาะหมาก จ.ตราด โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำจากข้อมูลเชิงวิชาการ สามารถสรุปและสังเคราะห์ได้ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ชุมชนคาร์บอนต่ำ แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ที่พักคาร์บอนต่ำ อาหารคาร์บอนต่ำ กิจกรรมคาร์บอนต่ำ การขนส่งคาร์บอนต่ำ การร่วมมือภาคีเครือข่าย และ การประชาสัมพันธ์ 2) ผลการจัดการการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเชิงปฏิบัติในพื้นที่เกาะหมาก จ.ตราด สามารถรวบรวมได้ 9 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่ 1 ถึง 8 มีความคล้ายคลึงกับผลการวิจัยในข้อ 1) ข้างต้น และมีองค์ประกอบที่เพิ่มเติมจำนวน 1 องค์ประกอบ คือ การจัดการด้านพลังงาน และ 3) ผลการวิเคราะห์แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำที่เหมาะสมในประเทศไทย ด้วยการนำผลการวิจัยข้อที่ 1) และ 2) มาบูรณาการและสังเคราะห์ร่วมกัน ได้แนวทางการจัดการจำนวน 9 แนวทาง โดยผลการวิจัยในครั้งนี้จะช่วยเติมเต็มองค์ความรู้ด้านวิชาการ ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและปรับปรุง และนำแนวทางการปฏิบัติไปส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีแก่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำให้มีความเหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป |