![]() |
การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อารีรัตน์ งามประยูร |
Title | การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ |
Contributor | ชนิดา มิตรานันท์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 4 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 32-41 |
Keyword | เด็กที่มีความต้องการพิเศษ, แรงจูงใจ, สื่อดิจิทัล, การจัดการศึกษา |
URL Website | https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj |
ISSN | 2985-1122 |
Abstract | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และพระราชบัญญัติการจัดการศึกษา สำหรับพิการ พ.ศ. 2551 หมายถึง บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทาง สังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่ จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม ได้อย่างบุคคลทั่วไป การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นกระบวนการที่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะ บุคคลและความหลากหลายของความต้องการในการเรียนรู้ โดยมีการปรับเปลี่ยนและใช้วิธีการที่เหมาะสมตามลักษณะของ เด็กแต่ละคน การเลือกปรับประยุกต์ใช้สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อใช้ในการสนับสนุนการจัดการศึกษาในการพัฒนา ซึ่ง อาจรวมถึงการบกพร่องทางการเรียนรู้ พัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ หรือร่างกาย การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องใช้ความยืดหยุ่นและความเข้าใจที่ลึกซึ้งจากครูและผู้เกี่ยวข้องในการสนับสนุนเด็กให้ สามารถเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกับเด็กทั่วไปและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน และผู้สอนได้เป็นอย่างดีการใช้สื่อดิจิทัลในการจัดศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนา และส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและความต้องการที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป มุ่งเน้นจัดการศึกษาโดยการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ คำนึงถึงความต้องการทางด้านการศึกษาและ พัฒนาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อารมณ์ หรือร่างกาย โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีที่สามารถปรับแต่งได้ ตามความสามารถและจุดเด่นของแต่ละบุคคล เช่น แอปพลิเคชั่นการเรียนรู้แบบโต้ตอบ สื่อวิดีโอ และเกมการศึกษา และ การประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลให้เหมาะสมนั้นควรได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองและครูผู้สอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ |