ทุนทางสังคมในการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นของ ข่วงวัฒนธรรมไท-ญวน คนเมืองล้านนา ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
รหัสดีโอไอ
Creator พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์
Title ทุนทางสังคมในการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นของ ข่วงวัฒนธรรมไท-ญวน คนเมืองล้านนา ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
Publisher มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Journal Vol. 3
Journal No. 2
Page no. 20-29
Keyword ทุนทางสังคม, การจัดการความรู้, อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่น
URL Website https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj
ISSN 2985-1122
Abstract การศึกษาเรื่องทุนทางสังคมในการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นของข่วงวัฒนธรรมไท-ญวน คนเมืองล้านนา ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามสะดวก กำหนดขนาดผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบความอิ่มตัวของข้อมูล เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและทุนทางสังคมในการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นของข่วงวัฒนธรรมไท-ญวน คนเมืองล้านนา ตำบลเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงรายผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพทั่วไปของข่วงวัฒนธรรมไท-ญวณ คนเมืองล้านนา พบว่า เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา มีการจัดการ ดังนี้ (1) การจัดการพื้นที่ มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และลานข่วงวัฒนธรรมสำหรับสอนศิลปะการแสดง (2) การบริหารจัดการ มีโครงสร้างที่เป็นทางการ และ (3) งบประมาณ มาจากการออกงานแสดงตามสถานที่ต่าง ๆ และ 2) ทุนทางสังคมในการจัดการความรู้เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่น พบว่า (1) ทุนมนุษย์ อันได้แก่ ผู้นำและแกนนำ (2) ระบบความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนฐานของจิตสำนึกร่วม หวงแหน และ (3) องค์กรชุมชนและองค์กรภาครัฐ ทุนทางสังคมดังกล่าวร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่น ผ่านกระบวนการจัดการความรู้ 4 กระบวนการ อันได้แก่ (1) การสร้างความรู้มีการทบทวนองค์ความรู้ โดยผู้นำและแกนนำ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรภายนอก สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม (2) การจัดเก็บความรู้ โดยเก็บความรู้ไว้ในตัวบุคคล ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ลายลักษณ์อักษรและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ (3) การแบ่งปันความรู้ มีการสร้างจิตสํานึก ความหวงแหน ในความเป็นอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นถิ่น ให้เกิดขึ้นแก่แกนนำเยาวชน และนำไปสู่การแบ่งปันแก่สาธารณะ ด้วยการไปแสดงและสอนตามสถานที่ต่างๆ และเปิดสอนให้แก่ผู้สนใจทั่วไป และ (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ มีการนําความรู้และประสบการณ์ของผู้นำร่วมกับแกนนำเยาวชน และองค์กรชุมชน เพื่อต่อยอด ดัดแปลงองค์ความรู้ เช่น การฟ้อนต่างๆ มาประกอบท่าเต้นในการออกกำลังกาย เป็นต้น
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ