![]() |
กลวิธีการปรับเปลี่ยนในชั้นเรียนรวมเพื่อการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมสำหรับผู้เรียนทุกคน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ทิณธรรม ไทยธรรม |
Title | กลวิธีการปรับเปลี่ยนในชั้นเรียนรวมเพื่อการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมสำหรับผู้เรียนทุกคน |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิจัยประยุกต์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 7-19 |
Keyword | การปรับเปลี่ยนในชั้นเรียนรวม, การปรับเปลี่ยนเฉพาะสําหรับผู้เรียน, การจัดการศึกษาที่ครอบคลุม |
URL Website | https://so07.tci-thaijo.org/index.php/arj |
ISSN | 2985-1122 |
Abstract | การเรียนรวมเป็นการจัดการศึกษาให้เด็กพิเศษ หรือผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกับผู้เรียนทั่วไป ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษาจำเป็นต้องมีความเข้าใจกลวิธีและบทบาทต่อการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามความหลากหลายของผู้เรียนด้วยกลวิธีที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์รองรับ (Evidence Based Practice) โดยใช้การปรับเปลี่ยนในชั้นเรียนรวม (Inclusive classroom - Based Adaptation) เพื่อเข้าใจและยอมรับความหลากหลายของผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในด้านความสามารถ ด้วยการปรับแนวการสอนให้แตกต่างหรือเป็นขั้นตอนย่อย ๆ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนช่วยให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ โดยการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก (Accommodations) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเนื้อหาการเรียนรู้ เช่น การขยายเวลา การใช้สื่อสิ่งอำนวยความสะดวก บริการเพิ่มเติม และความช่วยเหลือจากครู นอกจากนี้ ครูยังสามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ (Modifications) ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษและความสามารถของผู้เรียนเหมือนกับผู้เรียนทั่วไป ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนในชั้นเรียนรวมเพื่อการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมสำหรับผู้เรียนทุกคน ตามกลวิธีการปรับเปลี่ยนในชั้นเรียนรวม 3 ประการ ดังนี้ 1. การปรับเปลี่ยนตามคุณลักษณะของผู้เรียน (Adaptations Based on Student Characteristics), 2. การปรับเปลี่ยนตามรูปแบบของการเรียนรู้ (Adaptations Based on Types of Learning) และ 3. กลวิธีการสอนตามระดับการเรียนการรู้ (Instructional Strategies for Specific Levels of Learning) เพื่อทำให้การเรียนรวมในชั้นเรียนเกิดความเสมอภาค เท่าเทียม และเป็นการจัดการศึกษาอย่างครอบคลุมสำหรับทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพ |