การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของประชาชนในชุมชนบ้านระโยงตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
รหัสดีโอไอ
Creator วชิราพร วิมานรัมย์
Title การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของประชาชนในชุมชนบ้านระโยงตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
Publisher สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการพัฒนาท้องถิ่น
Journal Vol. 3
Journal No. 1
Page no. 49-58
Keyword การมีส่วนร่วม, การจัดการทรัพยากรน้ำ, ประชาชน
URL Website https://so19.tci-thaijo.org/index.php/ajld
Website title Academic Journal of Local Development
ISSN ISSN 3057-0735 (Online)
Abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของประชาชนในชุมชนบ้านระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชนบ้านระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชาชนในชุมชนบ้านระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 คุ้ม ได้แก่ 1) คุ้มตาอุดมศักดิ์ จำนวน 76 คน 2) คุ้มเนียงอุมา จำนวน 56 คน 3) คุ้มมะขามใหญ่ จำคน และ4) คุ้มสี่สามัคคีร่วมใจ จำนวน 67 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งหมด 159 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายเปิด และปลายปิดมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเชิงปริมาณ ค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ที่นัยสำคัญ 0.05 ทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (1 ค่าเอฟ (! วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีที่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีผลนัยสำคัญน้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (2) และค่าเยี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 30 คน ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน คือ กำนันผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 2 คน แพทย์ประจำตำบล 1 คน สารวัตรกำนัน 1 คน คณะกรรมการหมู่บ้าน 5 คน กลุ่ม อาชีพและกลุ่มเกษตรกร 10 คน และประชาชนในชุมชน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ