การต่อยอดและพัฒนาผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหม บ้านป่ายาว ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
รหัสดีโอไอ
Creator กมลลักษณ์ ชิ้นทอง
Title การต่อยอดและพัฒนาผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหม บ้านป่ายาว ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
Contributor ณภัสวรรณ ศาลางาม, สิริวิมล ภาสุวรรณ
Publisher สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการพัฒนาท้องถิ่น
Journal Vol. 3
Journal No. 1
Page no. 11-26
Keyword การต่อยอด, พัฒนาผ้าไหม, กลุ่มทอผ้าไหม
URL Website https://so19.tci-thaijo.org/index.php/ajld
Website title Academic Journal of Local Development
ISSN ISSN 3057-0735 (Online)
Abstract การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการทำผ้าไหมในชุมชนบ้านป่ายาว ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาการทำผ้าไหมส่งขายในกลุ่มทอผ้าไหมในชุมชน บ้านป่ายาว ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 3 เพื่อศึกษาปัญหาต้นทุนวัตถุดิบการทำผ้าไหมบ้านป่ายาว ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ กลุ่มประชากรในชุมชนบ้านใหม่ ตำตระแสง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีประชากรทั้งหมด ครัวเรือน จำนวน 625 คน โดยแบ่งเป็น 7 คุ้ม 1) คุ้มบ้านป่ายาว จำนวน 46 คน 2) คุ้มหน้าโรงเรียนจำนวน 30 คน 3) คุ้มโพธิ์น้อย จำนวน 38 คน 4) คุ้มโกลงโปร่งใส จำนวน 77 คน 5) คุ้มสุขสำราญ จำนวน 138 คน 6)คุ้มเจริญสุข จำนวน 137 คน 7) คุ้มเพิ่มพัฒนา จำนวน 114 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งหมด 243 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายเปิด และปลายปิดมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเชิงปริมาณเท่ากับ ค่าความเชื่อมั่นที่ 95% ที่นัยสำคัญ 0.05 ทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ (! วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีที่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีผลนัยสำคัญน้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (2 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 243 คน ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน คือ สารวัตกำนัน 1 คน กลุ่มสตรี 2 คน กลุ่มวัยรุ่นในชุมชนที่ทอผ้าไหม 1 คน และกลุ่มคนในชุมชน 239 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคกรวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทผลการวิจัย พบว่า คนในชุมชนมีความคิดเห็นต่อระดับในการต่อยอดและพัฒนาผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหมในชุมบ้านป่ายาว ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าระดับการในการต่อยอดและพัฒนาผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหมในชุมชน บ้านป่ายาว ด้านประโยชน์ที่ได้รับ เป็นด้านที่มีระดับสูงที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาอาชีพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านทรัพยากรมนุษย์ มีค่าเฉสี่ยระดับมาก ด้านวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และสุดท้าย คือ ด้านการผลิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ