![]() |
การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชา รัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปณิดา แก่นเดียว |
Title | การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชา รัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
Contributor | กิตติกรณ์ กงทอง, เพ็ญพิชชา จันทิมาลย์, วราวุฒิ พันเลียว, สุทธิกา ครองแก้ว |
Publisher | สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารวิชาการพัฒนาท้องถิ่น |
Journal Vol. | 2 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 39-56 |
Keyword | การรับรู้ข่าวสาร, การเมือง, ออนไลน์ |
URL Website | https://so19.tci-thaijo.org/index.php/ajld/issue/view/114 |
Website title | Academic Journal of Local Development |
ISSN | ISSN 3057-0735 (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) เปรียบเทียบการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์โดย จำนวน 91 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.923 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t (t-test) และ ค่า F (One-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 72.5 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุช่วงอายุ 19 ถึง 20ปี จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 56.0 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับชั้นชั้นปี 1 จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 41.8 และส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 3,000บาท จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 54.9 ตามลำดับ การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 3.99, S.D. = 0.516) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง (= 4.14, S.D. = 0.499) ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ (= 3.99, S.D. = 0.613 และด้านช่องทางการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง (= 3.85, S.D. = 0.638) 2. ผลเปรียบเทียบการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาที่มีเพศที่มีเพศแตกต่างกันมีระดับการการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ใน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ นักศึกษาที่มีอายุแตกต่างกันมีระดับการการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ใน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ นักศึกษาที่มีระดับชั้นแตกต่างกันมีระดับการการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ใน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ นักศึกษามีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีระดับการการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ใน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. แนวทางการพัฒนาการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ในมุมมองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยแยกเป็นรายด้านพบว่า ในด้านการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ ร้อยละ 29.17 นักศึกษากลุ่มตัวอย่างให้ข้อเสนอแนะว่า ควรเสนอแนะในด้านการเสพข่าวสารการเมืองอย่างถูกวิธี ส่วนด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ ร้อยละ 28.58 นักศึกษากลุ่มตัวอย่างให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีการเลือกตั้งออนไลน์ในอนาคต ประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ และสุดท้ายด้านช่องทางที่ใช้ในการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ ร้อยละ 50.0 นักศึกษากลุ่มตัวอย่างให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีคำแนะนำการกรองสื่อ ก่อนจะลงสื่อออนไลน์ |