![]() |
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภูมิศาสตร์ เรื่องประเทศของเรา โดยการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม ประกอบการใช้ เกม Domino ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สิทธิชัย กิ่งกุล |
Title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาภูมิศาสตร์ เรื่องประเทศของเรา โดยการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม ประกอบการใช้ เกม Domino ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Contributor | ณัฐพล จิตรกลาง, ธัญกร พาชื่นใจ, วรยา สุขบรรเทิง |
Publisher | สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | Administrative Journal for Local Development |
Journal Vol. | 2 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 37-48 |
Keyword | การจัดการเรียนรู้, กระบวนการกลุ่ม, เกมโดมิโน่ |
URL Website | https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc |
Website title | Administrative Journal for Local Development |
ISSN | ISSN 3057-059X (Online) |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม ประกอบการใช้เกม Domino ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 60 โดยการสอนแบบ กระบวนการกลุ่ม ประกอบการใช้เกม Domino (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนและก่อนเรียนโดยการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม ประกอบการใช้เกม Domino (4) เพื่อศึกษา พัฒนาการในการจัดเรียนรู้ของนักเรียนโดยการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม ประกอบการใช้ เกม Domino (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้โดยการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม ประกอบการใช้เกม Domino ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บ้านตระมูง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1)แผนการ จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม เรื่องประเทศของเรา จำนวน 3 แผนการเรียนรู้ 3 ชั่วโมง (2) เกม Domino ที่ใช้กับแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชุดกิจกรรม 3 แผนการเรียนรู้(3)แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนเรียนและหลังเรียน) จำนวน 15 ข้อ (4)แบบประเมินความพึงพอใจต่อ การเรียนรู้ จำนวน 10 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด (One sample t-test) กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (paired- samples t test) ทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน |