แนวทางการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึงใหม่ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
รหัสดีโอไอ
Creator พรชิตา ธนุพิล
Title แนวทางการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึงใหม่ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
Contributor พิมพ์ผกา แพงแก้ว, อาริยา สุจริต
Publisher สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
Publication Year 2565
Journal Title Administrative Journal for Local Development
Journal Vol. 1
Journal No. 2
Page no. 33-44
Keyword แนวทางการพัฒนา, กลุ่มทอผ้าไหม, การเพิ่มรายได้
URL Website https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc
Website title Administrative Journal for Local Development
ISSN ISSN 3057-059X (Online)
Abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึงใหม่ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อ การพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึงใหม่ ตำบลแกอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์และ 3 เพื่อนำเสนอแนวการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึงใหม่ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชาชนในชุมชนบ้านบึงใหม่ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งหมด 208 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบ รวมข้อมูลลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายเปิด และปลายปิดมีค่ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเชิงปริมาณเท่ากับ 0.921 ทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (t) (One Way ANOVA) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีที่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีผลนัยสำคัญน้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน20คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 2 คน กลุ่มผู้ทอผ้าไหม 12 คน ประชาชนในชุมชน 5คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า 1. ประชาชนในชุมชน มีความคิดเห็นต่อระดับแนวทางการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึงใหม่ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึงใหม่ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรีจังหวัดสุรินทร์ ด้านวัตถุดิบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านกลุ่มผู้ทอ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากด้านการลงทุน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากตามลำดับ และสุดท้าย ด้านการจ้างแรงงาน มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนบ้านบึงใหม่ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ตามประเภท 4 ด้าน ของการพัฒนาทางการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึงใหม่ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยจำแนกตามสถานภาพบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ประซาชนที่มี อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีระดับแนวทางการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึงใหม่ ตำบลแกอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีเพศและระดับการศึกษา แตกต่างกันมีระดับทางการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึใหม่ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แนวทางการพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมและการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน บ้านบึงใหม่ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรีจังหวัดสุรินทร์ พบว่า 3.1 ด้านการวัตถุดิบ คือ มีการจัดการอบรมภายในชุมชนเดือนละครั้ง และเชิญวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถมาบรรยายให้ประชาชนเข้าใจหรือทอผ้าไหมและออกแบบรวดลายผ้าไหมอย่างละเอียด ทุกขั้นตอน มีการแนะนำวัสดุจากธรรมชาติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน และบอกคุณสมบัติแต่ละชนิดว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้างเพื่อช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตที่มากขึ้น มีการเลี้ยงไหมชุมชน เพื่อเป็นทุนตั้งต้นในการลงทุน ของประชาชนบ้านบึงใหม่ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 3.2 ด้านกลุ่มผู้ทอผ้าไหม คือ มีจัดทำบัญชีเก็บออมเป็นรายเดือน เช็คที่มารายรับรายจ่ายในการทอผ้าไหม มีการแบ่งการกำไรและต้นทุนไว้เป็นสัดส่วน เพื่อจะได้คำนวณต้นทุนกำไรได้ถูกต้อง เราจะมีตารางรายรับ - รายจ่ายให้กับชาวบ้าน พอชาวบ้านได้รายได้จากการขายผ้าไหม ชาวบ้านจะได้มาบันทีกลงในสมุดพอถึงสิ้นเดือนเราก็จะมีรางวัลให้สำหรับกลุ่มผู้ทอที่ขยันทอผ้าไหม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับชาวบ้านในการทอผ้าไหม3.3 ด้านการลงทุน คือ มีการจัดการอบรมภายในชุมชนเดือนละครั้ง และเชิญวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถมาบรรยายให้ประชาชนเข้าใจหรือทอผ้าไหมและออกแบบรวดลายผ้าไหมอย่างละเอียด ทุกขั้นตอน มีการแนะนำวัสดุจากธรรมชาติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน และบอกคุณสมบัติแต่ละชนิดว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้างเพื่อช่วยให้ลดตันทุนการผลิตและมีผลผลิตที่มากขึ้น มีการเลี้ยงไหมชุมชน เพื่อเป็นทุนตั้งตันในกาลงทุน ของประชาชนบ้านบึงใหม่ ตำบลแก อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 3.4 ด้านจ้างแรงงาน คือ คือ องค์กรจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นทางด้านวัฒนธรรมและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง องค์กรต้องตั้งเป้าหมายและส่งเสริมให้ชาวบ้านของตนมีวัฒนธรรมในที่ทำงานทีสร้างสรรค์ผลงานจากเห็ดให้มีประสิทธิผลมากที่สุด หรือที่โดยทั่วไปแล้วคือการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมต่าง ๆ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าเพราะเหตุใดการทำความเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรประเภทต่าง 1 รวมถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของวัฒนธรรมแต่ละประเภทนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ