แนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครองตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
รหัสดีโอไอ
Creator พรชิตา ธนุพิลา
Title แนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครองตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
Contributor พิมพ์ผกา แพงแก้ว
Publisher สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
Publication Year 2565
Journal Title Administrative Journal for Local Development
Journal Vol. 1
Journal No. 2
Page no. 9-20
Keyword การมีส่วนร่วม, บ้านโนนสวายน้อย, การพัฒนาชุมชน, เทศบาลตำบลนุแกรง
URL Website https://so19.tci-thaijo.org/index.php/j_asc
Website title Administrative Journal for Local Development
ISSN ISSN 3057-059X (Online)
Abstract การวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาคลอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2. เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวันาคลอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาคลอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์โดยคณะผู้วิจัยได้ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลการศึกษา และนำเสนอข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาคลอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ตามลำดับดังนี้ เพื่อศึกษาการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษาพบว่า การจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย คือ ( ค่าเฉลี่ย= 4.07 , S.D. = 0.586) หากพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า ปัจจัยการจัดการขยะครัวเรือน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย คือ ( ค่าเฉลี่ย= 9.20 , S.D. =0.714) รองลงมาคือ ปัจจัยการจัดการขยะชุมชน อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย คือ ( ค่าเฉลี่ย= 3.97 , S.D. =0.836) โดยประชาชนในบ้านระวีนาคลองมีการจัดการขยะครัวเรือนกันเอง ด้วยวิธีการเผาขยะในพื้นที่ของตน หรือนำขยะที่มีมูลค่า เช่น ขวด กระป้อง หรือกระดาษ ไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษาพบว่า ปัญหาในการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย คือ ( ค่าเฉลี่ย= 4.24 , S.D. = 0.579 หากพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่างบประมาณ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย คือ ( ค่าเฉลี่ย= 4.40 , S.D. = 0.716) รองลงมาคือ ปัจจัยสิ่งสนับสนุนในการจัดการขยะ อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย คือ ( ค่าเฉลี่ย= 4.05 , S.D. = 0.787) บ้านระวีนาคลองขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชน ไม่มีบริการ รถเก็บขยะ ไม่มีถังขยะสาธารณะในชุมชน รวมถึงมีการลักลอบนำขยะไปทิ้งในที่สาธารณะของชุมชน เพื่อเสนอแนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จากการศึกษาพบว่า มีข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาครอง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ได้แก่ ส่วนกลางควรจัดสรรงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์ในการจัดการขยะในชุมชน เช่น รถเก็บถังขยะสาธารณะและส่วนกลางควรจัดสรรค์งบประมาณในการว่าจ้างบุคลากรเข้ามารับผิดชอบการจัดการขยะพื้นที่บ้านระวีนาคลองผลการศึกษาแนวทางการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนบ้านระวีนาคลองตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่าประชาชนในชุมชนมีการจัดการขยะครัวเรือนด้วยวิธีการเผา เพราะเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด โดยพวกเขามักแยกขยะที่มีมูลค่า เช่น ขวด กระป้อง หรือกระดาษออกมา เพื่อนำไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่าภายในและนอกพื้นที่ หรือนำเอาขยะที่มีมูลค่ามาใช้ใหม่ (Re-Use) เช่น นำเอาขวดพลาสติก มาใช้เป็นภาชนะใส่เครื่องดื่ม หรือนำเอายางรถจักรยานยนตร์ มาใช้เป็นสิ่งสำหรับรัดของต่างๆ เช่น สายยาง หรือท่อน้ำต่างๆ ในขณะที่ปัญหาที่เป็นอุปสรรค์ต่อการจัดการขยะครัวเรือนในชุมชน คือ การขาดการสนับสนุนงบประมาณ หรือผู้รับผิดชอบในการจัดการขยะในชุมชน ทั้งยังมีการนำขยะมาทิ้งในที่สาธารณะในชุมชน ปัญหาหมอกควันจากการเผาขยะของประชาชนในชุมชนเอง โดยภาครัฐควรจัดสรรค์งบประมาณมาสนับสนุนการจัดการขยะในชุมชนอย่างจริงจัง ต้องมีงบประมาณ มีเจ้าหน้าที่ และมีแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมเพื่อให้การจัดการขยะครัวเรือนในชุมชนของบ้านระวีนาคลอง เป็นไปอย่างสะดวก รวมถึงควรปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในชุมชนรักท้องถิ่นของตนเพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาสอดส่องป้องกันการลักลอบนำขยะมาทิ้งในที่สาธารณะของชุมชน
สถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ