![]() |
การฟื้นฟูและสืบสานประเพณีไหว้เจ้าพ่อศรีนครเตาจากพื้นที่วัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษา บ้านเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นัชชา อู่เงิน |
Title | การฟื้นฟูและสืบสานประเพณีไหว้เจ้าพ่อศรีนครเตาจากพื้นที่วัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษา บ้านเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม |
Contributor | ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์, เจษฎากรณ์ รันศรี |
Publisher | The Office of Arts and Culture, Surindra Rajabhat University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 88-101 |
Keyword | การฟื้นฟูและสืบสานประเพณี, เจ้าพ่อศรีนครเตา, พื้นที่วัฒนธรรม, เศรษฐกิจฐานราก |
URL Website | https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj |
Website title | วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล |
ISSN | ISSN 2822 - 0617 (Online);ISSN 2822 - 1141 (Print) |
Abstract | การศึกษาวิจัยนี้ มุ่งเน้นการฟื้นฟูและสืบสานประเพณีไหว้เจ้าพ่อศรีนครเตา จากพื้นที่วัฒนธรรม สู่เศรษฐกิจฐานราก โดยพื้นที่วิจัยคือ บ้านเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ยาวนาน แต่ในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการเสื่อมถอยจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจ งานวิจัยใข้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ อาทิ การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการจัดเวทีประชาคม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วัฒนธรรม ความเชื่อ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเกิดการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของเยาวชนเพิ่มขึ้น ตลาดวัฒนธรรมสร้างรายได้แก่ทางชุมชน โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การจัดนิทรรศการ การถ่ายทอดตำนาน การฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์ และการสร้างเทศกาลใหม่ คือ เทศกาลบวงสรวงดาบแสนตอเจ้าพ่อศรีนครเตา ครั้งที่ 1 ทั้งหมดนี้ล้วนช่วยฟื้นฟูอัตลักษณ์ท้องถิ่นจากพื้นที่วัฒนธรรม สู่เศรษฐกิจฐานรากโดยแท้ ผลจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการอนุรักษ์วัฒนธรรมสามารถดำเนินควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนานโยบายด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่อย่างยั่งยืน |