![]() |
คลินิกกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาคุณภาพวิถีชีวิตเกษตรกรกับแนวทางการพัฒนาการสอน กฎหมายไทย : กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย และตำบลศรีสุทโธ จังหวัดอุดรธานี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ณัฏฐานุช เมฆรา |
Title | คลินิกกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาคุณภาพวิถีชีวิตเกษตรกรกับแนวทางการพัฒนาการสอน กฎหมายไทย : กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย และตำบลศรีสุทโธ จังหวัดอุดรธานี |
Publisher | The Office of Arts and Culture, Surindra Rajabhat University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 159-168 |
Keyword | การศึกษากฎหมายเชิงคลินิก, คลินิกกฎหมาย, คลินิกกฎหมายเคลื่อนที่, ห้องเรียนในชุมชน, ห้องปฏิบัติการทางสังคม |
URL Website | https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj |
Website title | วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล |
ISSN | ISSN 2822 - 0617 (Online);ISSN 2822 - 1141 (Print) |
Abstract | การศึกษากฎหมายเชิงคลินิก เป็นวิธีการสอนที่เน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะทางกฎหมายและปลูกฝังจิตสำนึกในการให้บริการทางสังคมแก่นักศึกษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการศึกษากฎหมายเชิงคลินิกต่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพและจิตสำนึกด้านความเป็นธรรมของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รวมถึงวิเคราะห์ผลการดำเนินกิจกรรมคลินิกกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อเกษตรกรในพื้นที่ตำบลเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย และตำบลศรีสุทโธ จังหวัดอุดรธานี เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้การศึกษากฎหมายเชิงคลินิกในการสอนวิชากฎหมายในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า การศึกษากฎหมายเชิงคลินิกช่วยพัฒนาทักษะทางกฎหมายของนักศึกษา เช่น ทักษะการวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมาย ทักษะการสื่อสาร และทักษะการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย รวมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกในการให้บริการทางกฎหมายแก่ผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ กิจกรรมคลินิกกฎหมายเคลื่อนที่เพื่อเกษตรกรยังช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ชนบทเข้าถึงบริการทางกฎหมายได้มากขึ้น และได้รับคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่กำลังประสพ เช่น ปัญหาที่ดินทำกิน สัญญาซื้อขายที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ สัญญาจำนอง โดยได้เสนอแนวทางการพัฒนาการสอนกฎหมายไทยให้สถาบันการศึกษาควรนำวิธีการสอนกฎหมายเชิงคลินิกไปปรับใช้ในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต อันทำให้การศึกษากฎหมายบรรลุมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้จากการได้ฝึกฝนทักษะทางกฎหมายเข้ากับสถานการณ์จริง ฝึกคิดเชิงวิเคราะห์แก้ไขปัญหา การให้คำปรึกษากฎหมาย และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท งานวิจัยนี้ได้เสนอแนะให้มีการขยายโครงการคลินิกกฎหมายเคลื่อนที่ไปยังชุมชนอื่น ๆ เพื่อให้บริการทางกฎหมายแก่ผู้ด้อยโอกาสมากขึ้น |