ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจข้อมูลพรรณไม้ให้สีสำหรับย้อมผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์
รหัสดีโอไอ
Creator วนมพร พาหะนิชย์
Title ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจข้อมูลพรรณไม้ให้สีสำหรับย้อมผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์
Contributor สุพัตรา วะยะลุน
Publisher The Office of Arts and Culture, Surindra Rajabhat University
Publication Year 2568
Journal Title วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล
Journal Vol. 14
Journal No. 1
Page no. 143-158
Keyword การสำรวจพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ,  แอพชีต,  โนโค้ดแอปพลิเคชัน,  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
URL Website https://so07.tci-thaijo.org/index.php/acj
Website title วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล
ISSN ISSN 2822 - 0617 (Online);ISSN 2822 - 1141 (Print)
Abstract งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจข้อมูลพรรณไม้ให้สีธรรมชาติในจังหวัดสุรินทร์ด้วยโนโค้ดแอปพลิเคขัน และหาประสิทธิภาพของระบบ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับสำรวจความหนาแน่นและพิกัดของแหล่งพรรณไม้ให้สีธรรมชาติในชุมชนตามแนวคิด เอสดีแอลซี 7 ขั้นตอน แพลตฟอร์มที่ใช้ในการพัฒนา คือ แอพชีตและใช้ฐานข้อมูล คือ กูเกิลชีต กลุ่มตัวอย่าง มี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลพรรณไม้ ได้แก่ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ช่างทอผ้า และผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ จำนวน 3 ท่าน โดยทำการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 2) กลุ่มผู้ประเมินประสิทธิภาพของระบบ ได้แก่ ตัวแทนชุมชน นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 5 ท่าน ซึ่งทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และ 3) กลุ่มผู้ใช้งาน 30 คน ได้แก่ นักศึกษาจำนวน 10 คน และกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการ สุ่มอย่างง่าย นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ ซึ่งค่ามีความเชื่อมั่น 0.85 นอกจากนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบนมาตรฐาน โดยผลการศึกษาพบว่า ชุมชนสามารถบันทึกข้อมูลพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้ง ถ่ายภาพ ส่วนของพรรณไม้ให้สี สีที่ได้ วิธีการสกัดและย้อมผ้า และรายละเอียดผู้เก็บข้อมูล ในระบบสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ค้นหา และรายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ จากการประเมินประสิทธิภาพของระบบจากผู้เชี่ยวชาญและค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ย 4.55 และ 4.75 ตามลำดับ สรุปได้ว่าระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการฐานข้อมูลพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ ซึ่งจำเป็นมากสำหรับชุมชน ทอผ้าไหมสีธรรมชาติ เพราะปัจจุบันทรัพยากรดังกล่าวต่างก็ลดน้อยถอยลงไปเป็นจำนวนมาก. ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการแสดงฐานข้อมูลพิกัดพรรณไม้ให้สีธรรมชาติที่ยังคงอยู่ในชุมชน. แดชบอร์ดรายงานความหนาแน่นของพรรณไม้ให้สีธรรมชาติ เป็นสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจเพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปวางแผนส่งเสริมการปลูกทดแทน และอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่กับชุมชนได้ต่อไป
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ