หมวดหมู่คำถาม
คำถามและคำตอบ
ถ้ารายงานวิจัยได้ขอ DOI แล้ว ต่อมาได้เขียนบทความลงตีพิมพ์ในวารสาร ไม่ทราบว่า ถ้าวารสารขอรหัส DOI จะถือว่าข้อมูลซ้ำซ้อนหรือไม่
ไม่ซ้ำซ้อนเนื่องจาก รายงานวิจัยได้รหัส DOI แล้ว ต่อมาได้เขียนบทความลงตีพิมพ์ในวารสารในรูปแบบของบทความวารสาร และ มี URL ชี้ไปที่ไฟล์ PDF ของเอกสารโดยตรงที่ไม่ซ้ำกัน ถือว่าไม่ซ้ำซ้อน

วารสารยังไม่มีการใช้งานระบบ Online Journal System แต่มีการเผยแพร่บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร บทความเหล่านี้สามารถขอเลข DOI ได้หรือไม่
ได้ บทความวารสารที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร และมี URL ที่ชี้ไปที่ PDF ไฟล์ของบทความสารโดยตรง สามารถขอรหัส DOI ได้

ข้อมูลนักวิจัยที่จะขอรับรหัส DOI จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเป็นผู้รับทุน หรือนักวิจัยที่ได้รับทุนของ วช. เท่านั้น
ไม่จำเป็น วช. ให้บริการ DOI ในฐานะหน่วยงานหลักด้านการวิจัยของประเทศ ไฟล์ดิจิทัลของผลงานวิจัยที่เผยแพร่บน อินเทอร์เน็ต และมี URL ที่ชี้ไปที่ PDF ไฟล์ของเอกสารโดยตรง สามารถขอรหัส DOI ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รับทุนหรือนักวิจัยที่ได้รับทุนของ วช.

การขอรหัส DOI สามารถขอได้ครั้งละกี่รายการ
ไม่จำกัดจำนวน ควรทยอยส่งข้อมูลเข้ามาเป็นชุด เมื่อข้อมูลชุดแรกได้รับรหัส DOI ครบเรียบร้อย จึงส่งข้อมูลชุดใหม่เข้ามา

DOI จะช่วยป้องกัน และแก้ปัญหาการนำข้อมูลวิจัยคนอื่นมาใช้โดยไม่ขออนุญาต (Plagiarism) ได้อย่างไร
การนำข้อมูลวิจัยไปใช้ ไม่ขออนุญาต แต่มีการอ้างอิง เขียนแจ้งว่าเจ้าของข้อมูลคือใครตามระบบ การอ้างอิงอาจไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของ ถ้าเจ้าของเผยแพร่ข้อมูลอยู่ แต่การคัดลอกทั้งหมด การคัดลอกงานวิชาการ และวรรณกรรม (Plagiarism) การมี DOI เช่น บทความวารสารที่มี DOI สามารถ Run DOI Resolve ได้ว่ามี การซ้ำซ้อนหรือไม่ แต่ DOI ไม่ช่วยป้องกันเหมือน Plagiarism ที่ใช้ซอฟต์แวร์ เช่น Turn it in เทียบว่าเหมือนกี่เปอร์เซ็นต์ DOI แต่ช่วยเสริมสร้างให้การอ้างอิง การใช้ประโยชน์ของผู้อื่นง่ายขึ้นกว่าเดิม

DOI คืออะไร
DOI คือ เลขมาตรฐานสากลประจำไฟล์ดิจิทัลที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตในการระบุตัวตน หรือบ่งชี้ เอกสารดิจิทัล สำหรับเอกสารดิจิทัล 7 ประเภท ได้แก่ 1. รายงานวิจัย (Research :res) ได้แก่ รายงานวิจัย การค้นคว้าแบบอิสระ การค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์ รายงานการค้นแบบอิสระ รายงานการค้นคว้าแบบอิสระ โครงการศึกษาพิเศษ โครงการศึกษาวิจัย โครงการเฉพาะเรื่อง ปัญหาพิเศษ ภาคพิพนธ์ สารนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยต่างๆ กำหนดให้เป็น รายงานวิจัย 2. วิทยานิพนธ์ (Thesis : the) ได้แก่ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์/สารนิพนธ์ ตามที่มหาวิทยาลัยต่างๆ กำหนดให้เป็นวิทยานิพนธ์ 3. บทความวารสาร (Article : กำหนดใช้ชื่อย่อวารสารเป็นภาษาอังกฤษ) ได้แก่ บทความวารสาร ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาออกที่แน่นอนมีเลขปีที่ เลขฉบับที่ วันเดือนปี และมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแบบออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต 4. รูปภาพ (Image) : ได้แก่ รูปภาพและการออกแบบ โปสเตอร์ ใบงาน กรณีศึกษา ข้อมูลภาพปฐมภูมิ อินโฟกราฟิก สไลด์สื่อนำเสนอ สื่อปฏิสัมพันธ์ แผนที่ กราฟ แผนภูมิ/แผนผัง ภาพเอกสารจดหมายเหตุ ภาพ 3 มิติ 5. ภาพยนตร์/แอนิเมชัน/เสียง (Film/Animation/Sound : fas) ได้แก่ คลิปวิดีโอ คลิปการเรียนรู้ คลิปเสียง คลิปแฟลช แอนิเมชัน ตัวการ์ตูน ภาพเคลื่อนไหว 6. เอกสาร (Document : doc) ได้แก่ หนังสือ จดหมาย บทความ ตำราเรียน กฎหมาย ระเบียบ คำศัพท์ คำนิยาม ความหมาย กลยุทธ์การสอน ประมวลวิชา ข้อสอบ แบบฝึกหัด แบบจำลอง แผนการสอน อ้างอิงบทสัมภาษณ์ ข่าว ข้อมูลเอกสารปฐมภูมิ รายงานประจำปี คู่มือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 7. วัตถุดิจิทัลอื่นๆ เช่น (Object : obj) ได้แก่ ฟอนต์ โมบายแอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกม และอื่นๆ

เมื่อมีเลข ISBN, ISSN แล้วสามารถขอรหัส DOI ได้หรือไม่
ได้ เพราะ เป็นเลขมาตรฐานคนละประเภท ISBN คือ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ หนังสือ 1 เล่ม จะมีเลข ISBN เลขเดียวเท่านั้น ISSN คือ เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร วารสาร 1 เล่ม จะมีเลข ISSN เลขเดียวเท่านั้น สำหรับ DOI คือ เลขมาตรฐานสากลประจำไฟล์ดิจิทัล สำหรับเอกสารดิจิทัลประเภทงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และ บทความวารสาร โดยจะออก DOI 1 รหัส ต่อ งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ 1 เล่ม สำหรับวารสารออนไลน์ จะออกรหัส DOI ให้กับรายบทความ 1 รหัส ต่อ 1 บทความ โดยไม่ออกรหัส DOI ให้กับตัวเล่มวารสาร เหมือน ISSN

17
/
2
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ