บทความโดย
การนอน คือการพักผ่อนร่างกายและจิตใจที่ดี ไม่ว่าวันนั้นเราจะต้องเจออะไรมาก็ตาม การนอนจะช่วยเยียวยาทุกอย่างให้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย แต่ใช่ว่าการนอนจะดีเสมอไป เพราะว่านอนน้อยเกินไปก็ไม่ดีต่อร่างกาย หรือถ้า “นอนมากเกินไป” ก็ไม่ได้ เพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นเดียวกัน
โรคนอนเกิน (Hypersomnia) เป็นโรคที่หลับเกินพอดี ขี้เซา นอนเท่าไรก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา งีบหลับระหว่างวันหลายครั้ง แม้แต่ในเวลากินข้าว หรือพูดคุยกับคนอื่นก็ยังหลับได้ มีการนอนที่นานเกิน 8 ชั่วโมง โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกายหรือทางใจ ต้องรีบพบแพทย์
สาเหตุที่เกิดโรคนี้มีหลายประการ มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็กผู้ใหญ่ จึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดเหตุ ดังนี้
อาการของโรคนี้ที่สังเกตได้ มีดังนี้
1. ง่วงนอนตลอดเวลา
2. มีอาการเฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา
3. กินน้อยแต่อ้วนง่าย เพราะร่างกายไม่ได้เผาผลาญ
4. นอนมากเท่าไรก็ง่วง ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น
5. หงุดหงิดง่าย
6. วิตกกังวล
7. สมองช้า ความคิดไม่แล่น
8. พูดจาไม่รู้เรื่อง วกวน
9. มึนงง ความจำไม่ดี
10. อาจมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย
โรคนอนเกิน นอกจากมีอาการง่วงนอนตลอดเวลาจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่ายอีกด้วยซึ่งเป็นผลเสียระยะยาว อีกทั้งจะมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยคิดสั้นได้ นอกจากนี้แล้วยังมีผลเสียอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น
1. เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน เมื่อตื่นแล้วให้ลุกจากเตียงเลย อย่าต่อเวลานอนออกไปอีก
2. หากิจกรรมก่อนนอนง่ายๆ เช่น อ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม หวีผมเพื่อให้คุณได้ปรับตัว
3. หาอะไรรองท้องก่อนนอน เพราะกินอิ่มก็จะนอนหลับสบายขึ้น เช่น นมอุ่นๆ สักแก้ว เพราะถ้าคุณหลับสบาย ตื่นขึ้นมาก็จะสดชื่น
4. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และงดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนทุกชนิด
5. อย่ากลัวจนไม่กล้านอน เพราะอาจทำให้คุณเครียด และกังวลจนนอนไม่หลับ และอาจทำให้นอนนานกว่าเดิม ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพทั้งคู่
6. หาวิธีการนอนที่ดีและปรับให้ร่างกายชินกับการนอนที่ถูกต้อง เพื่อผลที่ดีในระยะยาว โดยการนอนที่ดี มีดังนี้
- นอนวันละ 6-8 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ควรมากหรือน้อยกว่านี้ ควรนอนและตื่นให้ตรงเวลา ไม่ควรเข้านอนเกิน 4 ทุ่ม และตื่นตี 5-6 โมงเช้า จะทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
- อาบน้ำก่อนนอนทุกครั้ง ไม่ว่าจะเหนื่อยแสนเหนื่อยแค่ไหนก็ควรทำให้ร่างกายสะอาดก่อนนอน เพราะมันจะทำให้เรานอนสบายเนื้อสบายตัวขึ้น
- นอนตอนกลางคืน อย่าเป็นนกฮูกที่กลางคืนตื่นกลางวันหลับ หรือถ้าอยากงีบกลางวันก็ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง เพราะจะทำให้กลางคืนเรานอนไม่หลับ และจบลงด้วยการนอนนานขึ้นกว่าเดิม
- ทำนาฬิกาชีวิตให้เป็นระเบียบ ทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันให้เป็นแบบเป็นแผน ตรงเวลาและสม่ำเสมอ เพราะเมื่อทุกอย่างเป็นระบบระเบียบ สุขภาพกายและสุขภาพใจก็จะดีขึ้น
- ไม่ควรใช้ยานอนหลับ หากมีอาการนอนไม่หลับควรปรับวิธีการนอนด้วยตัวเอง เพราะการใช้ยาเป็นประจำจะทำให้เกิดการดื้อยา และเมื่อกินไปมากๆ เข้าก็จะส่งผลถึงตับได้ และในรายที่นอนมากเกินก็เช่นกัน เพราะยาจะไปกระตุ้นประสาทให้คุณไม่หลับ ทำให้อาจเกิดประสาทหลอนได้
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ขอบคุณที่มา : https://www.sanook.com/health/33401/