เคยเป็นกันบ้างมั้ย..ยืนอยู่หน้าชั้นน้ำมันประกอบอาหารหลากหลายชนิด แล้วเกิดอาการลังเลใจ ไม่รู้ว่าจะหยิบน้ำมันอะไร ถึงจะได้น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพจริงๆ เรื่องนี้ กระปุกดอทคอม ช่วยได้ค่ะ.. โดยขอแนะนำน้ำมันเพื่อสุขภาพที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าดีจริง อย่างน้ำมันรำข้าวคิง เพราะถ้ากล่าวถึงประโยชน์ของน้ำมันรำข้าวคิง 10 ข้อต่อไปนี้ ก็คงปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าคนรักสุขภาพต้องใช้น้ำมันรำข้าวคิงเท่านั้น
1. น้ำมันรำข้าวคิงมีโอรีซานอลมากกว่า 6,000 ppm
โอรีซานอล (Oryzanol) เป็นสารธรรมชาติที่พบเฉพาะในน้ำมันรำข้าวเท่านั้น ไม่สามารถพบสารชนิดนี้ได้ในน้ำมันประกอบอาหารชนิดอื่นๆ ซึ่งหลายคนก็น่าจะมีข้อสงสัยว่า น้ำมันรำข้าวคิงมีโอรีซานอลแล้วดียังไง ?
ตอบได้เลยว่า สารโอรีซานอลมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก เพราะมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่า นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า โอรีซานอลสามารถลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-C) ในร่างกาย ช่วยส่งเสริมการทำงานของหลอดเลือด ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในตับ พร้อมทั้งยังดีต่อสุขภาพของสตรีวัยทองด้วย เพราะโอรีซานอลมีส่วนช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แถมยังช่วยลดอาการร้อนวูบวาบได้อีกด้วย
2. มีไฟโตสเตอรอลมากกว่า 16,000 ppm
ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) คือสารธรรมชาติที่พบได้เฉพาะในพืชเท่านั้น และเป็นสารที่มีโครงสร้างทางเคมีใกล้เคียงกับคอเลสเตอรอล เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะไปแย่งพื้นที่การเกาะตัวของคอเลสเตอรอล ส่งผลให้ลำไส้เล็กดูดซึมคอเลสเตอรอลได้น้อยลง ซึ่งก็มีงานวิจัยที่กล่าวถึงประโยชน์ของไฟโตสเตอรอลไว้ด้วยว่า เมื่อนำสารชนิดนี้ไปบำบัดผู้ป่วยภาวะคอเลสเตอรอลสูง ก็พบว่าระดับคอเลสเตอรอลรวมและคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกายผู้ป่วยลดลง โดยไม่กระทบต่อระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ในร่างกายของผู้ป่วยแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ไฟโตสเตอรอล ยังมีส่วนช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์เนื้องอกและเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งมะเร็งต่อมลูกหมากได้ และยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าไฟโตสเตอรอลมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidant) ของน้ำมันเมื่อมีการให้ความร้อนได้เหมือนกับโอรีซานอล และวิตามินอีด้วย
3. มีวิตามินอี เด่นกว่าใคร
น้ำมันประกอบอาหารทั่วไปจะมีวิตามินอี กลุ่มโทโคฟีรอล (Tocopherol) เพียงกลุ่มเดียว แต่น้ำมันรำข้าวประกอบไปด้วยวิตามินอีถึง 2 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งก็คือวิตามินอี กลุ่มโทโคฟีรอล (Tocopherol) และวิตามินอี กลุ่มโทโคไตรอีนอล (Tocotrienol) โดยในน้ำมันรำข้าวคิง มีปริมาณวิตามินอี กลุ่มโทโคฟีรอล 186 ppm และมีวิตามินอี กลุ่มโทโคไตรอีนอลสูงถึง 416 ppm ซึ่งนับว่ามีปริมาณวิตามินอีรวมสูงทีเดียว
ทั้งนี้ วิตามินอี กลุ่มโทโคไตรอีนอล มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งได้ดีกว่ากลุ่มโทโคฟีรอล และยังมีประสิทธิภาพในการช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย
4. มีสัดส่วนของกรดไขมันที่เหมาะกับการบริโภค
น้ำมันรำข้าวคิง มีสัดส่วนของกรดไขมันที่ผ่านเกณฑ์ "อาหารรักษ์หัวใจ" โดยมีสัดส่วนของกรดไขมันอิ่มตัว (SFA) ต่อกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว(MUFA) เท่ากับ 1 ต่อ1.8 และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA) น้อยกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (MUFA)
"อาหารรักษ์หัวใจ" เป็นตราสัญลักษณ์ที่แสดงถึงว่า เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ออกโดยมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
5. มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง
น้ำมันรำข้าวคิง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated Fatty Acid หรือ MUFA) สูง ซึ่งคุณสมบัติที่ดีของกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว คือ สามารถลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C) ได้ จึงมีส่วนช่วยลดการอุดตันของผนังหลอดเลือดแดง และยังมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มหรือคงระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-C) ได้อีกด้วย
6. ปลอดภัยจากไขมันทรานส์
ค่ากรดไขมันทรานส์ในน้ำมันรำข้าวคิง เท่ากับ 0 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค จึงนับว่าเป็นน้ำมันประกอบอาหารที่มีความปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งเจ้าไขมันทรานส์ เป็นไขมันอันตรายที่จะไปเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ขณะเดียวกันก็จะไปลดปริมาณคอเลสเตอรอลที่ดีในร่างกายของเรา จนเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
7. มีจุดเกิดควันสูง ใช้ได้ทั้งผัด ทั้งทอด
ในการใช้น้ำมันประกอบอาหารประเภททอดหรือผัด เมื่อใช้ไฟร้อนถึงระดับหนึ่งจะเกิดควันขึ้นมา ซึ่งมีอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีงานวิจัยที่ประเทศไต้หวันพบว่า ควันจากน้ำมันมีสารประกอบในกลุ่ม Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้หญิงชาวไต้หวันที่ประกอบอาหารในบ้านป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงควรเลือกใช้น้ำมันประกอบอาหารที่มีจุดเกิดควันสูง (High Smoke Point) สามารถทนต่อความร้อนได้ดี อย่างเช่น น้ำมันรำข้าวคิง ที่มีจุดเกิดควันสูงถึง 240 องศาเซลเซียส ซึ่งนอกจากจะเหมาะกับการใช้ทอดอาหารแล้ว ยังสามารถใช้น้ำมันรำข้าวคิงทำอาหารได้ทุกเมนู โดยไม่ต้องแยกน้ำมันให้ยุ่งยากอีกต่อไป
8. ไม่มีกลิ่น และรสชาติเป็นกลาง
หมดกังวลได้เลยว่าอาหารที่ทำจะติดกลิ่นติดรสของน้ำมันที่นำมาใช้ เพราะน้ำมันรำข้าวคิงไม่มีกลิ่น และยังมีรสชาติเป็นกลาง ฉะนั้นไม่ว่าจะใช้น้ำมันรำข้าวคิง ทำเมนูอะไร จะผัดหรือทอด ก็จะได้กลิ่นและรสชาติแท้ๆ ของวัตถุดิบและส่วนผสมของอาหารทุกจานอย่างเด่นชัด
9. ไม่ใส่สารกันหืนสังเคราะห์
น้ำมันประกอบอาหารโดยทั่วไปจะมีสารกันหืนสังเคราะห์ (เช่น BHA BHT และ TBHQ) เพื่อป้องกันการออกซิเดชั่นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นหืน แต่สารเหล่านี้อาจมีผลต่อเซลล์ในร่างกาย โดยเป็นสารกระตุ้นให้เกิดเนื้องอก และส่งเสริมกระบวนการเกิดมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะได้ หากสะสมอยู่ในร่างกายเป็นปริมาณมาก
แต่ในน้ำมันรำข้าวคิงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดและมีในปริมาณมาก อันได้แก่ โอรีซานอล ไฟโตสเตอรอล และวิตามินอี ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการออกซิเดชั่นโดยธรรมชาติ สามารถทนต่อการเกิดกลิ่นหืนได้ดี น้ำมันรำข้าวคิงจึงไม่ต้องใส่สารกันหืนสังเคราะห์ ฉะนั้นมั่นใจได้เลยว่าทุกขวดของน้ำมันรำข้าวคิง ดีจริงและปลอดภัย
10. น้ำมันรำข้าวคิงผลิตจากข้าวไทยที่ไร้ GMOs
ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากเสี่ยงต่อ GMOs ไม่ว่าจะทางไหนก็ตาม ซึ่งก็มั่นใจในคุณภาพของน้ำมันรำข้าวคิงได้เลยค่ะ เพราะน้ำมันรำข้าวคิงผลิตจากข้าวไทยที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าข้าวไทยปลอดจากการดัดแปลงทางพันธุกรรม หรือปลอด GMOs อย่างแท้จริง ดังนั้นรำข้าวที่นำมาทำน้ำมันรำข้าวคิงก็ปลอดภัยจาก GMOs ด้วยเช่นกัน
น้ำมันรำข้าวคิง โอรีซานอล 6,000 ppm แตกต่างด้วยคุณค่าและประโยชน์อย่างเด่นชัด คราวนี้ก็ไม่ต้องลังเลกันแล้วนะคะว่าจะเลือกใช้น้ำมันประกอบอาหารขวดไหนดี เพราะข้อมูลเหล่านี้น่าจะทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ "รู้จริง เลือกคิง" อย่างไร้ข้อสงสัย เพราะคิงส่งต่อคุณประโยชน์เพื่อคุณอย่างแท้จริง
ขอบคุณที่มา : http://health.kapook.com/view161729.html