หมอเมษ์

          โรคที่กำลังเป็นที่จับตามองทั่วโลก#โรคหวัดมะเขือเทศหรือ#Tomato_flu ที่กำลังระบาดในประเทศอินเดียอยู่ในขณะนี้ (บทความนี้โพสต์ครั้งแรกเมื่อวันที่26 ..65) โดยการระบาดครั้งนี้เกิดในรัฐKerala ในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า5 ขวบ ซึ่งในช่วงแรกที่มีการระบาดก็คาดเดาว่าน่าจะเป็นการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าปากแต่จากข้อมูลล่าสุดพบว่าไม่ได้เกิดจากสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใดแต่จากการแยกสารพันธุกรรมพบว่ามีสาเหตุมาจากCoxsackie A16 ที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าปากนั่นเอง 

          โรคหวัดมะเขือเทศ ถูกรายงานว่าพบผู้ป่วยครั้งแรกที่จังหวัดKollam รัฐKarela เมื่อวันที่6 พฤษภาคม2565 และในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีรายงานว่าพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้แล้วมากกว่า82 คนโดยทั้งหมดอายุน้อยกว่า5 ขวบและตอนนี้ก็มีรายงานว่าพบผู้ป่วยจากรัฐอื่นๆเช่นกัน 

 

          โดยที่ตัวโรคทั่วไปไม่ได้อันตรายถึงชีวิตและสามารถหายเองได้ 

          อาการของโรคหวัดมะเขือเทศจะคล้ายคลึงกับโรคchikungunya คือมีไข้สูงผื่นและปวดตามข้ออย่างมากโดยสาเหตุที่เรียกว่าไข้หวัดมะเขือเทศเพราะว่าผู้ป่วยจะตัวแดงจากตุ่มน้ำที่ค่อยๆโตขึ้นทั่วร่างกายซึ่งทำให้รู้สึกเจ็บและระคายเคือง

          ลักษณะของตุ่มน้ำที่พบจะคล้ายกับตุ่มน้ำในโรคฝีดาษลิง (monkeypox virus) ที่เกิดในคนอายุน้อย 

          นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้อาเจียนถ่ายเหลวมีภาวะขาดน้ำ  ข้อบวมปวดตามตัวคล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก 

          ถ้าหากเด็กๆมีอาการเหล่านี้ก็แนะนำว่าควรตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาเพิ่มเติมเพื่อแยกโรคไข้เลือดออก  chikungunya โรคไวรัสซิก้าโรคสุกใสและเริมซึ่งถ้าหากไม่ใช่โรคที่กล่าวถึงทั้งหมดก็ควรสงสัยว่าอาจจะเป็นไข้หวัดมะเขือเทศ 

          การรักษาจะไม่มียาต้านไวรัสเฉพาะแต่เป็นการรักษาตามอาการได้แก่

          1. แยกผู้ป่วยออกจากคนอื่นๆเนื่องจากติดต่อกันง่ายมากโดยควรแยกตัว5-7 วันหลังจากเริ่มมีอาการ

          2. พักผ่อนให้เพียงพอ
          3.
ดื่มน้ำเยอะๆเพื่อลดโอกาสเสี่ยงขาดน้ำ 
          4.
เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อทำให้เกิดอาการคันน้อยลง 
          5.
ให้ยาตามอาการ 

          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมรวมถึงภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้นและระยะยาวเราคงต้องรอการรวบรวมข้อมูลต่อไปแนะนำทุกครอบครัวติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดนะคะ 

ขอขอบคุณ: https://creator.kapook.com/view261347.html

 

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ