หมอเมษ์
1. อ่านนิทานเป็นจุดเริ่มต้น ไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกเข้าใจเราเริ่มอ่านได้เลยเมื่อตารางเวลาชีวิตเราลงตัว
2. การอ่านนิทานไม่ใช่เพื่อให้ลูกเข้าใจแต่เพื่อเป็นการจัดระบบชีวิตเราเองว่าในเวลานี้ตอนนี้เราจะอยู่กับลูกและลูกจะมีเราเป็นการใช้เวลาร่วมกันหรือที่หลายคนเรียกว่าเวลาคุณภาพ
3. การอ่านนิทานอ่านเวลาไหนก็ได้แต่ถ้าอ่านก่อนนอนก็จะมีประโยชน์ในแง่ของการสร้างroutine bedtime ที่จะทำให้ลูกเตรียมความพร้อมสำหรับการนอนคลื่นสมองจะปรับตัวเพื่อเตรียมตัวนอนเป็นการฝึกการนอนแบบมีคุณภาพที่หนังสือและผู้เชี่ยวชาญหลายๆคนแนะนำ
4. ทำให้ช่วงเวลาการอ่านนิทานเป็นช่วงเวลาที่สนุกลูกจะได้รู้สึกมีความสุขกับการอ่าน เราไม่จำเป็นต้องอ่านเรียงจากหน้าไปหลังถ้าลูกจะเล่นก็ปล่อยให้เล่นไปเราก็อ่านไปเรื่อยๆเชื่อเถอะค่ะว่าลูกฟังอยู่
5. อ่านเล่มเดิมๆซ้ำๆก็ไม่เป็นไรค่ะให้ลูกได้เลือกเองตามความสนใจเพราะแม้เนื้อหาเดิมๆรูปเดิมๆแต่ความเชื่อมโยงที่เกิดในสมองลูกไม่เหมือนเดิมเลยสักครั้งค่ะ
6. ไม่จำเป็นต้องมีนิทานเยอะหลายเล่มแค่ลงมือเอาตัวเองลงไปอ่านกับลูกก็มีประโยชน์ค่ะจะแต่งเองก็ได้หรือจะprint จากinternet ก็ได้ แต่การอ่านหรือเล่าด้วยตัวเองได้ประโยชน์กว่าการเปิดคลิปนิทานหรือการเปิดเสียงนิทานนะคะเพราะวัยของลูกต้องการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์โดยเฉพาะพ่อแม่ค่ะ
7. กรณีเลี้ยงลูก2 ภาษาถ้าอ่านภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องแปลไม่ต้องกลัวลูกไม่เข้าใจเพราะลูกเริ่มต้นจากความไม่เข้าใจสักภาษาค่ะเขาสามารถเรียนรู้ทั้งสองภาษาไปพร้อมๆกันได้
ยกเว้นลูกจะมีภาษาหลักเด่นชัดแล้วแต่ถึงไม่แปลเด็กๆก็เข้าใจอยู่ดีค่ะ
เวลาออกไปข้างนอกถ้ามีหนังสือแผ่นพับหรือประกาศก็จะสนใจหรือเวลาเห็นป้ายข้างทางก็จะชวนกันอ่านหรือถ้าเป็นตัวเลขตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เป็นคำง่ายๆลูกก็จะเริ่มอ่านเองค่ะทำให้เราสามารถเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวได้โดยไม่ต้องพึ่งพาจอเลย
ขอขอบคุณ: https://creator.kapook.com/view263093.html