การวิเคราะห์แบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อในการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26
รหัสดีโอไอ
Title การวิเคราะห์แบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อในการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26
Creator จตุพันธ์ ปัญจมนัส
Contributor ชัชชัย โกมารทัต
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2556
Keyword เซปักตะกร้อ -- การแข่งขัน, ตะกร้อ -- การแข่งขัน, Sepaktakraw, Takraw
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อ วิเคราะห์แบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อ และเปรียบเทียบแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อระหว่างทีมชนะกับทีมแพ้ในการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26 ประเภททีมชุดชาย ของการแข่งขันระดับพรีเมียร์ รวมทั้งสิ้น 8 ทีม ได้แก่ ทีมชาติไทย ทีมชาติมาเลเซีย ทีมชาติญี่ปุ่น ทีมชาติบรูไน ทีมชาติเกาหลี ทีมชาติอินโดเนเซีย ทีมชาติเมียนม่า และทีมชาติอินเดีย ทำการบันทึกภาพเก็บข้อมูลจำนวน 15 นัดการแข่งขัน นำเทปบันทึกภาพการแข่งขันมาวิเคราะห์ผ่านโปรแกรม Focus X2 Version 1.5 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1.พบแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อที่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน จำนวน 21 แบบแผนการเสิร์ฟ และพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสิร์ฟ จำนวน 7 ปัจจัย แบ่งเป็นรูปแบบการโยนลูกเสิร์ฟ จำนวน 3 รูปแบบและรูปแบบการยืนรับลูกเสิร์ฟ 4 รูปแบบ 2.การวิเคราะห์แบบแผนการเสิร์ฟในการแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26 พบแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อที่ใช้จริงจำนวน 18 แบบแผน และพบว่าแบบแผนการเสิร์ฟที่นิยมมากที่สุด แบบแผนการเสิร์ฟที่ได้ผลมากที่สุดและแบบแผนการเสิร์ฟที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ แบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบเปลี่ยนทิศทางไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน และแบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบรุนแรงไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน ส่วนแบบแผนการเสิร์ฟที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ แบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบรุนแรงไปยังพื้นที่ว่างระหว่างตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน แบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบรุนแรงไปยังพื้นที่ว่างในสนามแข่งขัน และแบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบสั้น แต่ไม่พบแบบแผนการเสิร์ฟแบบใหม่3.การเปรียบเทียบแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อระหว่างทีมชนะกับทีมแพ้ในการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 26 พบว่าแบบแผนการเสิร์ฟที่นิยมใช้มากที่สุดและแบบแผนการเสิร์ฟที่ได้ผลมากที่สุดของทีมชนะกับทีมแพ้มีความสอดคล้องกัน คือ ใช้แบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบเปลี่ยนทิศทางไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน แบบแผนการเสิร์ฟที่ได้คะแนนมากที่สุดของทีมชนะ คือ แบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบรุนแรงไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน ซึ่งแตกต่างกับทีมแพ้ที่ใช้แบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบเปลี่ยนทิศทางไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน แบบแผนการเสิร์ฟที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของทีมชนะ คือ แบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบรุนแรงไปยังพื้นที่ว่างระหว่างตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน ซึ่งแตกต่างกับทีมแพ้ที่ใช้แบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบสั้น สรุปว่าแบบแผนการเสิร์ฟของกีฬาเซปักตะกร้อที่โค้ชควรเน้นในการเล่น คือ แบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบเปลี่ยนทิศทางไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน และแบบแผนการเสิร์ฟด้วยข้างเท้าด้านในแบบรุนแรงไปยังตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน เพราะเป็นแบบแผนการเสิร์ฟที่นิยมมากที่สุด เป็นแบบแผนการเสิร์ฟที่ได้ผลมากที่สุด และเป็นแบบแผนการเสิร์ฟที่ได้คะแนนมากที่สุดในการแข่งขัน และควรพิจารณาแบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบรุนแรงไปยังพื้นที่ว่างระหว่างตัวผู้เล่นฝ่ายคู่แข่งขัน แบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบรุนแรงไปยังพื้นที่ว่างในสนามแข่งขันและแบบแผนการเสิร์ฟด้วยหลังเท้าแบบสั้น เนื่องจากเป็นแบบแผนการเสิร์ฟที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ