วิเคราะห์ผลงานการประพันธ์เพลงประเภทโหมโรงครูมนตรี ตราโมท
รหัสดีโอไอ
Title วิเคราะห์ผลงานการประพันธ์เพลงประเภทโหมโรงครูมนตรี ตราโมท
Creator กฤษฏิ์ โพชนุกูล
Contributor พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword มนตรี ตราโมท, 2443-2538, เพลงไทย, การแต่งเพลง
Abstract ครูมนตรี ตราโมท (ปี พ.ศ. 2443-2538) คีตกวี 5 แผ่นดิน ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีผลงานการประพันธ์เพลงไทย มากกว่า 200 เพลง หนึ่งในผลงานสำคัญคือการประพันธ์เพลงประเภทโหมโรง มีจำนวนทั้งหมด 12 เพลง แต่ปัจจุบันสามารถสืบค้นทำนองเพลงได้จำนวน 9 เพลง ได้แก่ เพลงโหมโรงต้อยตริ่ง 3 ชั้น เพลงโหมโรงราโค 3 ชั้น เพลงโหมโรงมหาฤกษ์ 3 ชั้น เพลงโหมโรงขับไม้บัณเฑาะว์ 3 ชั้น เพลงโหมโรงเอื้องคำ 3 ชั้น เพลงโหมโรงเกษมศรี 3 ชั้น เพลงโหมโรงรัตนโกสินทร์ 3 ชั้น เพลงโหมโรงมหาราช 3 ชั้น และเพลงโหมโรงเทิด ส.ธ. 3 ชั้น ผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ว่า การให้ชื่อเพลงโหมโรงของครูมนตรี ตราโมท แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การให้ชื่อตามทำนอง การให้ชื่อตามผล และการให้ชื่อตามสิ่งที่ระลึก ลักษณะการประพันธ์เพลงโหมโรง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ เพลงโหมโรงที่ตั้งใจประพันธ์ขึ้นสำหรับโหมโรงโดยทั่วไป เพลงโหมโรงเฉพาะคณะหรือสำนักดนตรีนั้น ๆ และเพลงโหมโรงที่นำมาจากเพลงบรรเลงขับร้องธรรมดา ทั้งนี้เพลงโหมโรงทุกเพลงมีลักษณะการประพันธ์ด้วยการขยายทำนอง ยกเว้นในเพลงโหมโรงมหาราช 3 ชั้น ท่อน 1 ที่ประพันธ์ด้วยการดัดแปลงทำนอง ในเรื่องรูปแบบสังคีตลักษณ์ หากเป็นเพลงที่ขยายขึ้นจากเพลงต้นรากเพลงเดียว นิยมคงจำนวนท่อนเพลงไว้เท่าเดิม แต่ถ้ามีเพลงต้นราก 2 เพลง จะให้เพลงประธานเป็นท่อนที่ 1 และเพลงต่อท้ายเป็นท่อนที่ 2 ทั้งนี้พบการประพันธ์เที่ยวกลับในเพลงโหมโรงจำนวน 6 เพลง ทำนองลงจบหรือลงวา พบว่ามีการลงวา 2 รูปแบบ คือ การเปลี่ยนทำนองในหน้าทับสุดท้าย กับการเพิ่มทำนองเพื่อเป็นทำนองลงจบหรือลงวา สิ่งที่สำคัญของการลงวา คือ เสียงสุดท้ายของประโยค พบว่ามี 2 เสียง คือใช้เสียง เร ในเพลงโหมโรงที่ใช้หน้าทับปรบไก่ และใช้เสียง ซอล ในเพลงโหมโรงที่ใช้หน้าทับสองไม้ วิธีดำเนินทำนองของเพลงโหมโรงมีความหลากหลาย โดยพบทางกรอมากที่สุด การประพันธ์วิธีดำเนินทำนองในทางพื้น ทางกรอ และทางลูกล้อลูกขัด มีการเลือกใช้กระสวนทำนองเพื่อนำมาใช้ในการประพันธ์เพลงโหมโรง และการสร้างทำนองให้มีความสัมพันธ์กับทำนองสารัตถะ ทั้งหมดนี้เป็นเอกลักษณ์สำคัญในการประพันธ์เพลงประเภทโหมโรงครูมนตรี ตราโมท
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ