ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต : การประยุกต์ใช้โมเดลพัฒนาการพหุระดับแบบผสม
รหัสดีโอไอ
Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต : การประยุกต์ใช้โมเดลพัฒนาการพหุระดับแบบผสม
Creator นิธิภัทร บาลศิริ
Contributor สุชาดา บวรกิติวงศ์, ศิริชัย กาญจนวาสี
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2553
Keyword ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, นักศึกษา, โมเดลพหุระดับ (สถิติ), Critical thinking, Students, Multilevel models ‪(Statistics)‬
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความรงของโมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุของปัจจัยระดับนักศึกษา และปัจจัยระดับโปรแกรมวิชา ที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 2) ตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุของปัจจัยะดับนักศึกษา และปัจจัยระดับโปแกรมวิชา ที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญณ ในส่วนรูปแบบของโมเดลการวิจัย และค่าพารามิเตอร์โนโมเดล 3) ตรวจสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ภายในระดับ และอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับของโมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุของปัจจัยะดับนักศึกษา และปัจจัยระดับโปรแกรมวิชา ที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) ตรวจสอบพัฒนาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงของการคิดอย่างมีวิจาณณญาณ เมื่อมีตัวแปรทำนายเป็นปัจจัยะดับนักศึกษา และปัจจัยระดับโปรแกรมวิชา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,872 คน จาก 90 ห้องเรียน ซึ่งกระจายอยู่ใน 7 สาขาวิชา และ 33 โปรแกมวิชา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับสอง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ โมเดลสมการโครงสร้างโมเดลเชิงเส้นลำดับลดหลั่น โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปร โมเดลโค้งพัฒนาการแบบผสม โมเดลโค้งพัฒนาการพหุระดับแบบผสม โมเดลอิทธิพลของตัวแปรปรับที่มีตัวแปรคั่นกลาง และเทคนิคจอห์นสัน-นีย์แมน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยระดับนักศึกษาอธิบายการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ 77% เชาว์ปัญญาทางอารมณ์ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณมากที่สุด (TE = 1.50) รองลงมาคือความเชื่ออำนาจภายในตน (TE = 0.82) ทักษะทางปัญญา (TE = 0.58) แบบการเรียน (TE = 0.16) ความสามารถทางภาษา (TE = 0.14) และการอบรมเลี้ยงดู (TE = 0.10) ตามลำดับ ปัจจัยระดับโปรแกรมวิชาอธิบายการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ 30% สภาพแวดล้อมในการเรียนส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจาณญาณมากที่สุด (TE = 0.53) รองลงมาคือวิธีสอนที่ส่งเสริมกาคิดอย่างมีวิจาณญาณ (TE = 0.46) และคุณลักษณะของผู้สอน (TE = 0.41) ตามลำดับ 2. โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีรูปแบบของโมเดลและค่าพารามิเตอร์ไม่แตกต่างกัน ระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่มีสาขาวิชา เพศ และเกรดเฉลี่ยสะสม แตกต่างกัน 3. ความเชื่ออำนาจภายในตนและเชาว์ปัญญาทางอารมณ์ ทักษะทางปัญญาและเชาว์ปัญญาทางอารมณ์ มีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (B = 0.24, 0.06 ตามลำดับ) 4. พัฒนาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาแต่ละคนเป็นแบบเส้นตรง มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของอัตราพัฒนาการในการวัดครั้งที่ 1-4 เท่ากับ 0.00, 0.44, 0.59, 0.76 ส่วนในรายโปรแกมวิชาเป็นแบบไม่เป็นเส้นตรง มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของอัตราพัฒนาการในการวัดครั้งที่ 1-4 เท่ากับ 0.00, 0.89, 1.48, -1.00 ตามลำดับ 5. สภาพแวดล้อมในการเรียน ความสามารถทางภาษา และความเชื่ออำนาจภายในตน มีอิทธิพลต่อค่าอัตราพัฒนาการของการคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับสูง (TE= -1.14, -0.92, 0.88 ตามลำดับ)
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ