![]() |
ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | อภิวัฒน์ อินทร์นก |
Title | ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี |
Contributor | พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์, อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์ |
Publisher | Thammasat University |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | Thai Journal of Science and Technology |
Journal Vol. | 5 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 233-245 |
Keyword | ข้าวขาวดอกมะลิ 105, ปุ๋ยเคมี, ปุ๋ยอินทรีย์ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org |
ISSN | 2286-7333 |
Abstract | การศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวจากแปลงเกษตรกร ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 แปลง ที่มีการใช้ปุ๋ยแตกต่างกัน ได้แก่ นาข้าวใช้ปุ๋ยอินทรีย์ภายใต้มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ (มกษ. 9000-2552) ใช้ปุ๋ยมูลสุกรอัตรา 50 กก./ไร่ หรือ 1.35 กก.ไนโตรเจน/ไร่ และนาข้าวใช้ปุ๋ยเคมีภายใต้ระบบมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ. 4400-2552) ใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 และ 46-0-0 อัตรา 25 และ 15 กก./ไร่ ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็น 10.9 กก.ไนโตรเจน/ไร่ บรรจุข้าวกล้องในถุงสูญญากาศ และเก็บรักษาในอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 12 เดือน พบว่าระยะเวลาการเก็บรักษามีผลทำให้คุณภาพกายภาพ ได้แก่ น้ำหนัก ความกว้าง และหนาของเมล็ดเพิ่มขึ้น และมีผลทำให้คุณภาพทางเคมีเปลี่ยนแปลงไป โดยปริมาณคาร์โบไฮเดรตและอะไมโลสเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณไขมันและสารความหอม (2-AP) ลดลง ซึ่งข้าวที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยังคงมีปริมาณ 2-AP มากกว่าข้าวที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี จึงเป็นผลทำให้ข้าวที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีกลิ่นหอมมากกว่า เช่นเดียวกับคุณภาพทางโภชนาการที่มีการลดลงตามการเก็บรักษา แต่ข้าวที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยังคงมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดในเมล็ดมากกว่าข้าวที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี และถึงแม้ว่าระยะเวลาการเก็บรักษามีผลทำให้ข้าวหุงสุกมีระยะเวลาการหุงต้มนานขึ้นและมีความนุ่มเหนียวลดลง แต่ข้าวที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั้งทางด้านรสชาติ กลิ่นหอม ความนุ่มเหนียวมากกว่าข้าวที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้นผลการทดลองนี้จึงชี้ให้เห็นว่าระยะเวลาการเก็บรักษามีผลทำให้คุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 ลดลง แต่ข้าวที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยังคงมีคุณภาพดีและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากกว่าข้าวที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างของปริมาณธาตุอาหารที่ได้รับจากปุ๋ย |