![]() |
การวิเคราะห์สถานการณ์การปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายในเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าในเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ.2556-2559 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | 1. เกษร ประสงค์กูล 2. ชิดชนก เรือนก้อน |
Title | การวิเคราะห์สถานการณ์การปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายในเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าในเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ.2556-2559 |
Publisher | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Publication Year | 2560 |
Journal Title | วารสารเภสัชกรรมไทย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 361-369 |
Keyword | เครื่องสำอาง, สารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย, การคุ้มครองผู้บริโภค, เภสัชสาธารณสุข |
ISSN | 1906-5574 |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและการกระจายของเครื่องสำอางที่ใช้กับผิวหน้าที่ปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการปนเปื้อนสารห้ามใช้ฯ และหาความน่าเป็นที่จะตรวจพบสารห้ามใช้ฯ วิธีการ: ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากผลการตรวจสถานที่จำหน่ายเครื่องสำอางและผลการตรวจวิเคราะห์เครื่องสำอางชนิดที่ใช้กับผิวหน้าที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง จำนวน 143 ตัวอย่าง โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น ระหว่างปี พ.ศ. 25562559 ในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์การหาความสามารถของคะแนนความเสี่ยงในการทำนายการปนเปื้อนสารห้ามใช้ฯ ใช้การวิเคราะห์โค้ง Receiver Operating Characteristic(ROC) ผลการวิจัย: การตรวจสถานที่จำหน่ายเครื่องสำอางพบว่า ร้อยละ 35.98 จำหน่ายเครื่องสำอางที่ฉลากไม่ถูกต้องหรือเครื่องสำอางอันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข การตรวจร้านค้าที่เป็นแผงลอย ร้านหรือบูธขายเครื่องสำอาง หรือสถานที่ที่ตั้งอยู่ในตลาดนัด พบเครื่องสำอางที่ฉลากไม่ถูกต้องหรือเครื่องสำอางอันตรายตามประกาศฯ ร้อยละ 95.65 , 80.39 และ 70 ของการตรวจ ตามลำดับ ตัวอย่างเครื่องสำอางร้อยละ 54.55 การทดสอบปรอทและสารประกอบของปรอท กรดเรทิโนอิก และไฮโดรควิโนนในร้อยละ 35.66 18.18 และ 11.89 ของเครื่องสำอางที่ตรวจ ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจพบสารห้ามใช้ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การขายในร้านขายเครื่องสำอาง (OR = 11.35) การขายในแผงลอย (OR = 46.57) การขายในร้านค้าปลีกหรือร้านชำ (OR = 71.11) การขายในร้านค้าส่ง (OR = 62.45 ) (เมื่อให้การขายในสถานเสริมความงามเป็นกลุ่มอ้างอิง) เครื่องสำอางสีขาว (OR = 42.91) เครื่องสำอางสีเหลืองหรือส้ม (OR = 6.83) (เมื่อให้สีเบส เปลือกไข่ ใสหรือไม่มีสีเป็นกลุ่มอ้างอิง) ชนิดเครื่องสำอางแบบครีม (OR = 19.28) และการมีฉลากภาษาไทย (OR = 9.51) คะแนนความเสี่ยงของแต่ละปัจจัยมีค่าตั้งแต่ 0-7 ส่วนคะแนนความเสี่ยงรวมในทุกปัจจัยของเครื่องสำอางมีค่าสูงสุดเท่ากับ 21 คะแนนความเสี่ยงของเครื่องสำอางสามารถทำนายการปนเปื้อนสารห้ามใช้ฯ ได้โดยมีพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.84 เครื่องสำอางที่มีคะแนนความเสี่ยง? 10 มีโอกาสพบสารห้ามใช้ฯ เพียง 0.11 เท่าของเครื่องสำอางที่ตรวจทั้งหมด เครื่องสำอางที่มีคะแนนความเสี่ยง >15 มีโอกาสพบสารห้ามใช้สูงเป็น 26.6 เท่าของเครื่องสำอางที่ตรวจทั้งหมด สรุป: เครื่องสำอางที่ฉลากไม่ถูกต้องมีโอกาสที่จะพบการปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย คะแนนความเสี่ยงของเครื่องสำอางสามารถใช้ประโยชน์ในการเลือกเก็บตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์ของพนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นแนวทางสำหรับผู้บริโภคในการคุ้มครองตนเองในการเลือกซื้อเครื่องสำอาง |