![]() |
ปัญหาของการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดีย: อัมเบดการ์ศึกษา, ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชนนอกวรรณะ และการศึกษาซับบอลเทิร์น: ทางเลือกของการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดีย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิทธิกรณ์ ปัญญามณี |
Title | ปัญหาของการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดีย: อัมเบดการ์ศึกษา, ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชนนอกวรรณะ และการศึกษาซับบอลเทิร์น: ทางเลือกของการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดีย |
Publisher | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2559 |
Journal Title | วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ |
Journal Vol. | 3 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 245-281 |
Keyword | อัมเบดการ์ศึกษา, กลุ่มชนนอกวรรณะ, สตรีในกลุ่มชนนอก, วรรณะ, ซับบอลเทิร์น |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history |
Website title | วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ |
ISSN | 2672-9903 |
Abstract | บทความนี้เป็นการศึกษาแบบสำรวจเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับอัมเบดการ์ศึกษา,ประวัติศาสตร์กลุ่มชนนอกวรรณะ และการศึกษาแบบซับบอลเทิร์น นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าเหตุใดกลุ่ม ซับบอลเทิร์นจึงได้มองข้ามอัมเบดการ์ศึกษา และประวัติศาสตร์กลุ่มชนนอกวรรณะซับบอลเทิร์น (Subaltern Studies) ก่อตั้งขึ้นเพื่อใช้อธิบายสังคมอินเดียจากประชาชนระดับล่าง ซึ่งซับบอลเทิร์นได้สร้างความแตกต่างให้แก่การเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดียโดยราชิต คุฮา ถึงแม้ว่า คุฮาและเพื่อนร่วมงานของเขาในกลุ่มซับบอลเทิร์นจะให้การยืนยันว่า คำนิยามของซับบอลเทิร์นได้ครอบคลุมเรื่องราวเหล่านี้ทั้งที่เป็นชนชั้น ระบบวรรณะ เชื้อชาติ ภาษา สตรี และอื่นๆ ในทางตรงกันข้ามบทความ ทางวิชาการจำนวนมากของซับบอลเทิร์นได้ มองข้ามอัมเบดการ์และกลุ่มชนนอกวรรณะไป เนื่องด้วยเหตุนี้ การมองข้ามดังกล่าวจึงเป็น สาเหตุหนึ่งของการเสื่อมสลายของกลุ่มซับบอลเทิร์นในเวลาต่อมาอย่างไรก็ตาม อัมเบดการ์ศึกษาและประวัติศาสตร์กลุ่มชนนอกวรรณะมีความพิเศษในแง่ของประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดีย เพราะทั้งสอง แนวทางนี้เป็นหนึ่งในประเภทการศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับซับบอลเทิร์น ในความเป็นจริง ดร.อัมเบดการ์ เกิดในครอบครัวที่มีสถานะเป็น กลุ่ม ชนนอกวรรณะ และมีแนวความคิดด้านการยกเลิกระบบวรรณะของเขา ในเวลาต่อมาได้ส่งผลให้เขาเป็นผู้นำกลุ่มชนนอกวรรณะที่มีบทบาท สำคัญในศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ ดร.อัมเบดการ์ ยังได้สนับสนุนให้กลุ่มชนนอกวรรณะทั้งชายและหญิงมีสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมได้เช่นเดียวกับกลุ่มชนในวรรณะสูง ตัวอย่างเช่น การก่อตั้งโครงการเพื่อการศึกษา การเขียนรัฐธรรมนูญและการเสนอประมวลกฎหมายฮินดู เป็นต้น เขายังเปรียบเสมือนเป็นหน้าต่างบาน หนึ่งที่เราสามารถเปิดมาดูวิถีชีวิตของกลุ่มชนนอกวรรณะ แม้ว่า ดร. อัมเบดการ์และประวัติศาสตร์กลุ่มชนนอกวรรณะจะเป็นประวัติศาสตร์นิพนธ์จากมลทิน แต่ไม่ควรมองข้ามและตัดแนวทางการศึกษาทั้งสองนี้ออกไปจากประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดียได้โดยสรุปเมื่อเรากล่าวถึงปัญหาของประวัติศาสตร์นิพนธ์อินเดียนั้น สามารถกล่าวได้ว่าหมายถึงผลงานเชิงวิชาการที่กล่าวถึง อัมเบดการ์และกลุ่มชนนอกวรรณะที่ยังมีในปริมาณไม่มาก ยิ่งกว่านั้นอัมเบดการ์และกลุ่มชนอกวรรณะ คือ ทางเลือกของประวัติศาสตร์นิพนธ์ อินเดีย เพราะทั้งสองสิ่งนี้มุ่งศึกษาประชาชนที่อยู่ล่างสุดของสังคม อินเดีย นอกจากนี้ทั้งอัมเบดการ์ศึกษา ประวัติศาสตร์กลุ่มชนนอกวรรณะและซับบอลเทิร์นต่างมีสภาวะของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในบริบทพื้นที่ทางวิชาการ |