![]() |
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธนินทรา พนิตภราดร |
Title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD |
Contributor | สุริยัน เขตบรรจง |
Publisher | ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา |
Journal Vol. | 18 |
Journal No. | 2 |
Page no. | OJED-18-02-006 (15 หน้า) |
Keyword | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ความเท่ากันทุกประการ, การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/267325 |
Website title | วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา(An Online Journal of Education) |
ISSN | 1905-4491 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/802)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ระหว่างหลังเรียน และก่อนเรียนและ 3)ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความเท่ากันทุกประการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีจับฉลากเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในกรุงเทพมหานครปีการศึกษา 2565จํานวน 44 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที(t-test)ผลการวิจัยพบว่า1)ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ85.92/84.77 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้2)การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระหว่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.82 |