การใช้ประโยชน์จากสีของแอคติโนแบคทีเรียที่คัดแยก จากดินรังต่อ-หมาร่าในการย้อมสีเส้นใยไหม
รหัสดีโอไอ
Creator นฤมล เถื่อนกูล
Title การใช้ประโยชน์จากสีของแอคติโนแบคทีเรียที่คัดแยก จากดินรังต่อ-หมาร่าในการย้อมสีเส้นใยไหม
Contributor สิทธิชัย อุดก่ำ
Publisher Pibulsongkram Rajabhat University
Publication Year 2564
Journal Title Life Sciences and Environment Journal
Journal Vol. 22
Journal No. 2
Page no. 166-177
Keyword สี แอคติโนแบคทีเรีย, การย้อมสีเส้นใยไหม, ความคงทนต่อการซัก, ความคงทนของสีต่อแสง
URL Website https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/index
Website title Life Sciences and Environment Journal
ISSN 2773-9201
Abstract สีย้อมแอคติโนแบคทีเรียเป็นทางเลือกใหม่ของสีย้อมจากธรรมชาติ ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแอคติโนแบคทีเรียจากดินรังต่อ-หมาร่า ผลิตสีย้อม ย้อมเส้นใยไหม วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอของเส้นใยไหมย้อมด้วยสีจากแอคติโนแบคทีเรีย และระบุชนิดแอคติโนแบคทีเรีย ผลการทดลองพบว่าสามารถคัดแยกแอคติโนแบคทีเรียจากตัวอย่างดินจากดินรังต่อ-หมาร่า โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ Sodium Caseinate Agar (SCA) ได้จำนวน 10 ไอโซเลท และพบว่าแอคติโนแบคทีเรียไอโซเลท J10 สร้างสารสีเหลืองและย้อมติดเส้นใยไหมได้ดีที่สุด จากการทดสอบความคงทนของเส้นใยไหมที่ย้อมด้วยสีจากแอคติโนแบคทีเรียไอโซเลท J10 ต่อการซัก และแสงตามวิธีมาตรฐาน ISO105-C06:2010(E) และ ISO105-B02:2014(E) ตามลำดับ พบว่ามีความคงทนต่อการซักที่ดีมาก โดยมีค่าการทดสอบอยู่ระหว่างระดับ 4-5 ส่วนการทดสอบความคงทนของสีต่อแสงนั้นพบว่า มีความคงทนของสีต่อแสงในระดับปานกลาง โดยมีค่าการทดสอบอยู่ระหว่างระดับ 3-4 จากการระบุชนิดด้วยวิธีหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rDNA ในแอคติโนแบคทีเรียไอโซเลท J10 พบว่าแอคติโนแบคทีเรียไอโซเลท J10 ที่แยกได้นี้มีความใกล้เคียงกับ Streptomyces costaricanus (99.57%) S. prasinopilosus (99.50%) S. rochei (99.50%) S. padanus (99.50%) และ S. griseofuscus (99.50%) ตามลำดับ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม Streptomyces spp. ที่มีรายงานการวิจัยว่าเป็นชนิดที่มีการสร้างสารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิที่มีความสำคัญทางการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจที่จะพัฒนาสีจากแอคติโนแบคทีเรียกลุ่มนี้มาใช้ประโยชน์ทางด้านสีย้อมสิ่งทอที่มีประสิทธิภาพสูงต่อไปActinobacteria-derived pigments are the emerging class of natural dyes, which have attracted significant attention for the development of novel natural pigments for fiber dyeing. This research aims to isolate actinobacteria from wasps-nest soil for dye production, silk fibers dyeing, examine the qualities of fibers dyed by pigments and identify actinobacteria species. The results showed that 10 isolates of actinobacteria could be isolated from wasps-nest soil using Sodium Caseinate Agar (SCA). Moreover, the obtained actinobacteria J10 exhibited the yellow color and show the best dyeing on silk fibers. To investigate the qualities of pigment, the textile characteristics of dyed silk fibers were analyzed with the color fastness to washing and light by following the standard methods namely ISO105-C06:2010(E) and ISO 105-B02:2014(E), respectively. The result showed that the fastness to washing was ranged in the 4 to 5 level, which referred to a very good acceptance level. However, the light fastness was observed in the 3 to 4 level, which referred to an intermediate acceptance. The identification of actinobacteria isolate J10 based on comparative sequence analysis of 16S rDNA gene revealed the similarity to Streptomyces costaricanus (99.57%), S. prasinopilosus (99.50%), S. rochei (99.50%), S. padanus (99.50%), and S. griseofuscus (99.50%). These actinobacteria were reported as Streptomyces spp. which could produce the secondary metabolites to apply for medical, agricultural and commercial purposes. Hence, the pigment could be potential candidates to further develop for textile dying applications.
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ