![]() |
“ภูมิสัญลักษณ์กรุงเทพฯ” กับการเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศสำหรับผู้เรียนชาวจีน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | 1. DAN PENG 2. นิธิอร พรอำไพสกุล |
Title | “ภูมิสัญลักษณ์กรุงเทพฯ” กับการเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศสำหรับผู้เรียนชาวจีน |
Publisher | Huachiew Chalermprakiet University |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | Liberal Arts Review |
Journal Vol. | 17 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 123-137 |
Keyword | ภูมิสัญลักษณ์กรุงเทพฯ, ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ, ผู้เรียนชาวจีน |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/article/view/255459 |
Website title | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/index |
ISSN | 2730-2296 |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของภูมิสัญลักษณ์กรุงเทพฯ ในฐานะเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ โดยผู้วิจัยวิเคราะห์และเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 4 แหล่ง ได้แก่ 1. Ctrip 2. TripAdvisor 3. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ 4. กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาวิจัยพบว่าภูมิสัญลักษณ์กรุงเทพฯ มีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เสาชิงช้า อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และตึกคิงเพาเวอร์มหานคร ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นและเป็นจุดสายตาที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นเมืองกรุงเทพฯ ภูมิสัญลักษณ์กรุงเทพฯ มีความสำคัญในการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านสถาปัตยกรรม ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ผู้เรียนชาวจีนจำเป็นต้องเรียนรู้ ซึ่งช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน ภูมิสัญลักษณ์กรุงเทพฯ จึงเป็นสื่อสำคัญที่สามารถนำมาออกแบบการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศสำหรับผู้เรียนชาวจีน |