![]() |
การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับจิตตปัญญาศึกษา ในรายวิชามนุษยภาพ ชีวิตและการพัฒนาตนเอง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สิริพร สมบูรณ์บูรณะ |
Title | การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับจิตตปัญญาศึกษา ในรายวิชามนุษยภาพ ชีวิตและการพัฒนาตนเอง |
Publisher | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
Publication Year | 2558 |
Journal Title | วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
Journal Vol. | 1 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 39-59 |
Keyword | กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, จิตตปัญญาศึกษา, รายวิชา มนุษยภาพ, ชีวิตและการพัฒนาตนเอง |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jliwu |
Website title | วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
ISSN | 2408-2481 |
Abstract | ในการปรับปรุงหลักสูตรศึกษาทั่วไปในปี พ.ศ. 2552 ในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีการปรับปรุงรายวิชามนุษยภาพ ชีวิตและการพัฒนา ตนเองโดยการบูรณาการกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative) เพื่อการเข้าใจตนเอง การเข้าใจผู้อื่น การเข้าใจ สังคม การพัฒนาบุคลิกภาพและศักยภาพ การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การแสวงหาความรู้ การจัดการตนเองในฐานะบัณฑิต พลเมืองและพลโลก รวมถึงเพื่อความเข้าใจความหมายเรื่องชีวิต ความดี ความงาม ความสุข ความทุกข์และการเลือกดํารงชีวิต อย่างเหมาะสม กระบวนการเรียนรู้อันเกิดจากการใช้ปัญหาเป็นฐานมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร การค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง การคิดวิเคราะห์ และการ เคารพความคิดของผู้อื่น ในขณะที่จิตตปัญญาศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ ด้วยกิจกรรมที่เสริมองค์ความรู้ เช่น ศิลปะบําบัด การเป็นอาสาสมัคร เพื่อสังคม สุนทรียสนทนา เป็นต้น มีการนําศิลปะมาใช้เป็นสื่อนําในการพูดคุยกัน เพื่อสะท้อนความเป็นตัวตนของนักศึกษา ครอบครัวและคนรอบข้างโดยไม่ใช้วัสดุอุปกรณ์ราคาแพง รวมถึงการเรียนรู้สถานการณ์ในสังคมแห่งความเป็นจริงที่ต้องเผชิญ และความตระหนักรู้ในการใช้ชีวิตประจําวันของตนเองได้ บทความนี้เป็นบทความวิชาการที่นําเสนอผลและวิพากษ์ของการบูรณาการ กระบวนการเรียนรู้ทั้งสองรูปแบบนี้ อันส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาในการเปิด โลกของตนเอง เข้าใจตนเอง ผู้อื่นและสังคมมากขึ้น รวมถึงกระบวนการคิดและ กระบวนการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาสู่กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ต่อไปในหมวดวิชา ศึกษาทั่วไป |