![]() |
การพัฒนางานจัดเก็บรายได้โรงพยาบาล ในสถาบันบำราศนราดูรด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติจากทุกหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2558 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | คณัชฌา สิทธิบุศย์ |
Title | การพัฒนางานจัดเก็บรายได้โรงพยาบาล ในสถาบันบำราศนราดูรด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติจากทุกหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2558 |
Contributor | สมชาติ โตรักษา, กิตติ์พงศ์ สัญชาตวิรุฬห์, |
Publisher | สถาบันวิจัย จัดการความรู้ และมาตรฐานการควบคุมโรค |
Publication Year | 2560 |
Journal Title | วารสารควบคุมโรค |
Journal Vol. | 43 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 66-75 |
Keyword | การพัฒนางานจัดเก็บรายได้โรงพยาบาล, การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติ |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/DCJ |
Website title | เว็บไซต์วารสารควบคุมโรค |
ISSN | 1685-6481 |
Abstract | การวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบงานจัดเก็บรายได้โรงพยาบาล ในสถาบันบำราศ นราดูร ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติจากทุกหน่วยบริการที่สามารถปฏิบัติได้จริงโดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ และ (2) เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างก่อนกับหลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้น มาดำเนินงานในประชากรที่ศึกษาที่สถาบันบำราศนราดูร เป็นเวลา 7 เดือน ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม แบ่งเป็น (1) การดำเนินงานให้บริการจัดเก็บรายได้ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวม 10,902 รายการ (2) ผู้ตอบ แบบสอบถามคือ ผู้บริหาร 15 คน ผู้ให้บริการ 40 คน และผู้ปฏิบัติงานจัดเก็บรายได้ 12 คน รวม 67 คน โดยเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่าง ก่อนกับหลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาดำเนินการใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านปริมาณงาน คุณภาพงาน ระยะเวลาและแรงงานที่ใช้ ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง และด้านเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติ t, chi-square test และ Fisher's exact test ที่ระดับแอลฟ่า 0.05 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า หลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาดำเนินการ อัตราส่วนปริมาณงานต่อจำนวนแรงงาน 10,000 คน-วินาที เพิ่มขึ้น (p<0.001) อัตราความถูกต้องของใบแจ้งหนี้ ณ จุดปฏิบัติงาน อัตราความถูกต้องของใบแจ้งหนี้ก่อนเสนอยืนยันเรียกเก็บค่ารักษาไปยังผู้จ่ายเงิน และอัตราความถูกต้องหลังเรียกรับชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น (p<0.001) จำนวนแรงงานเฉลี่ยที่ใช้ในการปฏิบัติงานจัดเก็บรายได้ลดลง (p<0.001) ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในกระบวนการแจ้งหนี้ค่ารักษาลดลง (p<0.05) ความพึงพอใจของผู้บริหาร ผู้ให้บริการและผู้ปฏิบัติงานต่อการดำเนินงานจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น (p=0.037, p<0.001, และ p=0.032) ตามลำดับ ต้นทุนรวมและต้นทุนต่อหน่วยลดลง (p<0.001) สรุปได้ว่า รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่ดี เหมาะสมกับบริบทของสถาบันบำราศนราดูรที่มีทรัพยากรจำกัด จึงควรสนับสนุนขยายผลเป็นนโยบายการพัฒนางานตามภารกิจหลัก สู่งานวิจัยอย่างต่อเนื่องจนเป็นต้นแบบต่อไป |