![]() |
การผลิตฟิล์มบริโภคได้จากผงบุกผสมสารสกัดจากสมุนไพรไทยเพื่อยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ เบอร์ 4 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การผลิตฟิล์มบริโภคได้จากผงบุกผสมสารสกัดจากสมุนไพรไทยเพื่อยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ เบอร์ 4 |
Creator | จุพาพันธุ์ รัตนนิล |
Contributor | ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล, รชา เทพษร |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | มะม่วงน้ำดอกไม้ -- การเก็บและรักษา, สารเคลือบบริโภคได้, บุก (พืช), Mango -- Preservation, Edible coatings, Konjak |
Abstract | เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เป็นเชื้อสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสที่มักพบบนผลมะม่วงน้ำดอกไม้หลังจากการเก็บเกี่ยว งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากสมุนไพรไทยวงศ์ขิง 3 ชนิด ประกอบด้วย กระชาย ข่า และขิง วิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารสกัดที่ผสมในฟิล์มบุกเพื่อใช้ต้านเชื้อรา C. gloeosporioides ศึกษาสมบัติเชิงกล และผลการต้านเชื้อราในฟิล์มบริโภคได้จากผงบุกผสมสารสกัดจากสมุนไพรไทย เพื่อนำไปใช้ยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 จากการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากสมุนไพรไทยวงศ์ขิงทั้ง 3 ชนิด สกัดด้วยตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ เอทานอล และน้ำกลั่น เพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อรา C. gloeosporioides พบว่า สารสกัดจากสมุนไพรทุกชนิดในทุกตัวทำละลาย มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่นำมาทดสอบ โดยสารสกัดจากกระชายและข่าที่สกัดด้วยเอทานอล มีค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถทำลายเชื้อ (MFC) ที่ดีที่สุดต่อเชื้อราดังกล่าวเท่ากัน (MIC = 2,500 µg/ml และ MFC = 2,500 µg/ml) เมื่อนำสารสกัดจากสมุนไพรที่เลือก (กระชาย และ ข่า ที่สกัดด้วยเอทานอล) มาผสมในฟิล์มบุกที่ระดับความเข้มข้น 2,500 - 30,000 µg/ml และศึกษาผลการต้านเชื้อราของสารละลายบุกและแผ่นฟิล์มบุก โดยพิจารณาจากการเกิดบริเวณยับยั้ง (clear zone) พบว่าสารละลายบุกที่ผสมสารสกัดจากกระชาย และ ข่า ความเข้มข้น 10,000 µg/ml เป็นความเข้มข้นต่ำที่สุดที่เกิดบริเวณยับยั้ง ส่วนการยับยั้งของแผ่นฟิล์ม พบว่าฟิล์มบุกผสมสารสกัดจากข่าที่ความเข้มข้น 10,000 µg/ml เป็นความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ในขณะที่ฟิล์มบุกผสมสารสกัดจากกระชายความเข้มข้น 20,000 µg/ml เป็นความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ เมื่อทดสอบสมบัติของฟิล์มบุกผสมสารสกัดจากกระชาย และ ข่า พบว่ามีค่า Tensile Strength และ Elongation ต่ำกว่าฟิล์มบุกที่ไม่ผสมสารสกัด ค่า WVTR ของฟิล์มบุกผสมสารสกัดมีค่าน้อยกว่าฟิล์มบุกที่ไม่ผสมสารสกัด ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำที่ดีกว่า เมื่อนำฟิล์มบริโภคได้จากผงบุกผสมสารสกัดจากข่าความเข้มข้น 30,000 µg/ml ไปใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13±1°C ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% พบว่า สารเคลือบผิวจากบุกช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของมะม่วงได้ โดยสารเคลือบผิวจากบุก และสารเคลือบผิวจากบุกผสมสารสกัดข่าสามารถลดการสูญเสียน้ำหนัก ความแน่นเนื้อ ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสีเปลือก ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด ปริมาณกรด และช่วยลดความรุนแรงของโรคแอนแทรคโนสได้ แต่สารเคลือบผิวส่งผลให้มะม่วงเกิดกลิ่นหมัก และแผ่นฟิล์มบุกผสมสารสกัดข่าสามารถลดความรุนแรงในการเกิดโรคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างควบคุม ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 30 วัน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |