ปฏิสัมพันธ์ของพ่อค้าชาวกัมพูชาในพื้นที่การค้าชายแดน : กรณีศึกษา ตลาดโรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว
รหัสดีโอไอ
Title ปฏิสัมพันธ์ของพ่อค้าชาวกัมพูชาในพื้นที่การค้าชายแดน : กรณีศึกษา ตลาดโรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว
Creator พีรญา คงคาฉุยฉาย
Contributor วัชรินทร์ ยงศิริ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2549
Keyword พ่อค้า -- ไทย -- สระแก้ว, ตลาดโรงเกลือ (สระแก้ว), Merchants -- Thailand -- Sa Kaeo, Rongklua Market (Sa Kaeo Province)
Abstract สำหรับการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการของการเข้ามาค้าขายของกลุ่มพ่อค้าชาวกัมพูชาในตลาดโรงเกลือตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปี 2549 วิเคราะห์แบบแผนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าชาวกัมพูชากับกลุ่มต่างๆ ภายใต้กิจกรรมการค้าที่มีระหว่างกัน และวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เอื้อต่อการดำรงอยู่และการเติบโตของเกล่มพ่อค้าชาวกัมพูชาซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดชุมชนการค้าขนาดใหญ่ภายใต้พื้นที่การค้าชายแดนแห่งนี้ในอนาคต พัฒนาการการเดินทางเข้ามาค้าขายของกลุ่มพ่อค้าชาวกัมพูชาในพื้นที่ตลาดโรงเกลือนั้น มีจุดเริ่มมาจากการเปิดจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าบ้านคลองลึก - ปอยเปต และมีการสร้างตลาดการค้าในปี 2534 ซึ่งเป็นผลจากนโยบายการแปรสนามรบเป็นสนามการค้าของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยปัจจุบันปี 2549 มีกลุ่มพ่อค้าชาวกัมพูชาในตลาดโรงเกลือทั้งกุล่มที่เดินทางแบบไปกลับเข้า-เย็น และกลุ่มที่เข้ามาค้าขายและพักอาศัยในฝั่งไทยโดยเฉลี่ย วันละ 3,500 - 4,000 คน การดำรงอยู่และเติบโตของกลุ่มพ่อค้าชาวกัมพูชาในตลาดโรงเกลือนั้นเกิดขึ้นจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรกการดำรงอยู่และการเติบโตของกลุ่มพ่อค้าชาวกัมพูชาในพื้นที่ตลาดโรงเกลือถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ของผู้คนที่ก่อตัวขึ้นจากลักษณะเฉพาะของพื้นที่ชายแดนที่เอื้อให้ชาวไทยและชาวกัมพูชา ได้มีโอกาสในการติดต่อสัมพันธ์กันมาโดยตลอด ความเป็นคนชายแดนของทั้งสองชาติ จึงมีความคุ้นชินกับการปฏิสัมพันธ์กับคนในอีกฝั่งชายแดนโดยไม่รู้สึกแปลกแยกประกอบกับเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันภายใต้กิจกรรมการค้าที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าความแตกต่างทางชาติพันธุ์และความขัดแย้งในเรื่องอุดมการณ์ระหว่างรัฐที่มีอยู่จึงทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นไปในทิศทางที่ดีจนเกิดเป็นพัฒนาการการเดินทางเข้ามาค้าขายของกุล่มพ่อค้าชาวกัมพูชาที่ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆตามการพัฒนาเชิงพื้นที่การค้าและสภาพการค้าในตลาดโรงเกลือ ประการที่สอง ปัจจัยเสริมจากภาครัฐ และภาคเอกชนที่เอื้อให้เกิดการหลั่งไหลของกลุ่มพ่อค้าชาวกัมพูชา อันได้แก่ แรงผลักดันทางเศรษฐกิจอันเป็นผลพวงจากปัญหาการเมืองภายในของกัมพูชาในช่วงปี 2518 - 2534 และแรงสนับสนุนจากภาครัฐ และภาคเอกชนของฝ่ายไทยในการพัฒนาพื้นที่การค้าชายแดนเพื่อรองรับการเดินทางเข้ามาค้าขายของชาวกัมพูชา จากพัฒนาการของผู้คนที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์อันดีของทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชาซึ่งก่อตัวมาจากลักษณะเฉพาะของพื้นที่ชายแดน ประกอบกับกลไกของภาครัฐ และภาคเอกชนที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่และสภาพการค้านำไปสู่พัฒนาการทางสังคม จากสังคมการค้าขนาดเล็กพัฒนากลายมาเป็นสังคมการค้าขนาดใหญ่ที่มีส่วนผสมของคนต่างชาติ โดยตัวผู้ค้าและรูปแบบของสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความหลากหลายมากขึ้น ดังที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบันเมื่อพิจารณาจากโครงสร้างทางสังคมที่เปิดรับการเข้ามาของกลุ่มพ่อค้าต่างชาติประกอบกับศักยภาพในการเติบโตของพื้นที่การค้าชายแดนแห่งนี้ ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าตลาดโรงเกลือมีแนวโน้มที่จะกลายสภาพจากตลาดการค้าระหว่างไทยและกัมพูชา ขยายไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศในอนาคต
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ