การเปรียบเทียบลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวภาษาญี่ปุ่นที่ออกเสียงโดยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีภาษาแม่แตกต่างกันกรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี
รหัสดีโอไอ
Creator ชัยยศ รองเดช
Title การเปรียบเทียบลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวภาษาญี่ปุ่นที่ออกเสียงโดยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีภาษาแม่แตกต่างกันกรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี
Publisher สมาคมญี่ปุ่นศึกษาแห่งประเทศไทย
Publication Year 2562
Journal Title วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา
Journal Vol. 9
Journal No. 2
Page no. 142-162
Keyword สระเสียงสั้นและสระเสียงยาวภาษาญี่ปุ่น, ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, ค่าความถี่ฟอร์เมินต์, ค่าระยะเวลา
URL Website https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_history
Website title วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา
ISSN 2586-937X
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวภาษาญี่ปุ่นที่ออกเสียงโดยเจ้าของภาษา (JP) และกลุ่มผู้เรียนที่มีภาษาแม่ต่างกัน 3 กลุ่มคือ ภาษาไทยกลาง (TH), ภาษาไทยถิ่นใต้ (ST) และ ภาษามลายู (ML) ซึ่งมีการวัดค่าทางกลสัทศาสตร์ ได้แก่ ค่าความถี่ฟอร์เมินต์ที่ 1 และที่ 2 (คุณสมบัติของเสียงสระ) และค่าระยะเวลา (ความสั้นยาวของเสียง) ของกลุ่มผู้เรียนที่มีภาษาแม่ต่างกันจำนวน 6 คน โดยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้วิจัยใช้โปรแกรม PRAAT ในการวิเคราะห์ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ผลการวิเคราะห์ค่าความถี่ฟอร์เมินต์ที่ 1 และที่ 2 ของสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวในภาษาญี่ปุ่นพบว่า ค่าความถี่ฟอร์เมินต์ของสระเสียงสั้น กลุ่มผู้เรียนที่มีภาษาแม่ต่างกัน 3 กลุ่ม TH, ST และ ML ออกเสียงแตกต่างกับกลุ่ม JP ได้แก่ เสียง /i/,/e/,/u/,/o/ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าความถี่ฟอร์เมินต์ของสระเสียงยาว กลุ่มผู้เรียนทั้ง 3 กลุ่ม TH, ST และ ML ออกเสียงแตกต่างกับกลุ่ม JP ในทุกๆ เสียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการวิเคราะห์ค่าระยะเวลาพบว่า กลุ่มผู้เรียนที่มีภาษาแม่ต่างกัน 3 กลุ่ม TH, ST และ ML ออกเสียงสระเสียงสั้นภาษาญี่ปุ่นยาวกว่ามาตรฐาน TH > ST > ML > JP กล่าวคือ สระเสียงสั้นจะออกเป็นสระเสียงยาวที่มีพยางค์หรือโมระเพิ่มเข้า ส่วนการออกเสียงสระเสียงยาวภาษาญี่ปุ่น กลุ่มผู้เรียนที่มีภาษาแม่ต่างกันทั้ง 3 กลุ่มออกเสียงสระเสียงยาวได้สั้นกว่าเจ้าของภาษา JP > ST > TH > ML กล่าวคือ จำนวนพยางค์หรือโมระลดไป 1 เสียง ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมชาติได้
สมาคมญี่ปุ่นศึกษาแห่งประเทศไทย

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ