การพัฒนาตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อการแบ่งชั้นความเสี่ยงและการพยากรณ์โรคมะเร็งปอดขั้นสูงในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
รหัสดีโอไอ
Creator ศุภกร ศรีสง่า
Title การพัฒนาตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อการแบ่งชั้นความเสี่ยงและการพยากรณ์โรคมะเร็งปอดขั้นสูงในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
Contributor เลอศักดิ์ โพธิ์ทอง และ อริสรา ผดุงเจริญ
Publisher มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2567
Journal Title วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
Journal Vol. 10
Journal No. 3
Page no. 113 ถึง 131
Keyword การพยากรณ์โรคมะเร็งปอด, การเรียนรู้ของเครื่อง, การจำแนกความเสี่ยง, ภาพถ่ายทางการแพทย์, ภาพเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์
URL Website https://mitij.mju.ac.th/
Website title วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
ISSN ISSN 3027-7280 (Online)
Abstract การจำแนกระยะของมะเร็งปอดอย่างแม่นยำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตรวจคัดกรองและการวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อยืดอายุการรอดชีวิตของผู้ป่วย งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องที่มีความสามารถในการจำแนกผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะเริ่มต้นและระยะลุกลามโดยใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) จำนวน 800 ภาพ จากชุดข้อมูล Kaggle.com โดยวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาแบบจำลอง ตามกระบวนการมาตรฐานในการทำเหมืองข้อมูล (CRISM-DM) ด้วยการสกัดคุณลักษณะที่เป็นประโยชน์จากภาพ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ของเนื้อร้ายมะเร็ง จากนั้นทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกระยะของมะเร็งปอดของตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง 3 เทคนิค ได้แก่ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning, DL) , โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Networks, ANN) และเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด (k-Nearest Neighbors, k-NN) ผลการวิจัยพบว่า โมเดล k-NN มีประสิทธิภาพเหนือกว่า DL และ ANN ในบริบทเฉพาะนี้ โดย สามารถจำแนกได้อย่างแม่นยำถึง 96% มีความไว 96.25% และความจำเพาะ 95.75% งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ k-NN ว่ามีแนวโน้มที่เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพสำหรับการจำแนกระยะของมะเร็งปอดโดยใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยเป็นความก้าวหน้าที่มีศักยภาพในการเพิ่มความรวดเร็วการวินิจฉัยของทีมแพทย์และการปรับปรุงกลยุทธ์การดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ