การพัฒนาสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การทัศนศึกษาแหล่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รหัสดีโอไอ
Creator พงศกร รุ่งกำจัด
Title การพัฒนาสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การทัศนศึกษาแหล่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Contributor ณัฐพล รำไพ และ สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล
Publisher มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Publication Year 2566
Journal Title วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
Journal Vol. 9
Journal No. 1
Page no. 14 ถึง 29
Keyword ดิจิทัลวีดิทัศน์, ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว, เทคโนโลยีเสมือนจริง, ทัวร์เสมือนจริง, วิดีโอ 360 องศา
URL Website https://mitij.mju.ac.th/
Website title วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
ISSN ISSN 2672-9008 (Online)
Abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การทัศนศึกษาแหล่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 2) ศึกษาภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของนักศึกษาที่มีต่อการทัศนศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) วัดความรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังรับชมสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริง 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริง โดยเป็นการพัฒนาสื่อดิจิทัลวีดีทัศน์การท่องเที่ยวผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้เเบบเสมือนจริงในรูปแบบทัวร์เสมือนจริง 360 องศา (Virtual Tour) ซึ่งถือเป็นทางเลือกในการพัฒนาสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีและสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อเป็นการส่งเสริมองค์ความรู้และเจตคติให้กับผู้เรียน เพื่อให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น จากการทดลองใช้สื่อกับกลุ่มเป้าหมายที่ได้จากการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ของผู้เรียน จำนวน 30 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ 2) สื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ 3) แบบวัดความรู้ก่อนรับชมสื่อและแบบวัดความรู้หลังรับชมสื่อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบทดสอบภาพลักษณ์การทัศนศึกษาแหล่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ซึ่งมีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ มีคุณภาพโดยรวมที่ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก = 4.67 และมีค่าประสิทธิภาพของสื่อเท่ากับ 81.77/84.00 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนนผลการทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.70 แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่อดิจิทัลวีดิทัศน์ ค่าเฉลี่ยรวม = 4.67 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.54
มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ